พิพิธภัณฑ์สิรินธร
(ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว)
เสาร์ที่ 31 มกราคม มีโอกาสได้ไปเยี่ยม
"พิพิธภัณฑ์สิรินธร" หรือ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ที่อำเภอสหัสขันธ์
จังหวัดกาฬสินธุ์ ดินแดนน้ำดำ...
หลังจากที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เปิดไปอย่างเป็นทางการเมื่อ 9 ธันวาคม
2551
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ค่อนข้างทันสมัย มีการบรรยายทั้งภาพและเสียงอัตโนมัติ ท่านสามารถเรียนรู้จากการบรรยาย และนิทัศน์การที่จัดไว้ได้อย่างดี รวมทั้งมีข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับทางธรณีวิทยามากมาย จากการกำเนิดของโลก เรื่อยไปถึงยุคต่างๆ ไปจนถึงการเกิดของมุษย์ตลอดจนการวิวัฒนาการต่างๆสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพของเรา...
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ค่อนข้างทันสมัย มีการบรรยายทั้งภาพและเสียงอัตโนมัติ ท่านสามารถเรียนรู้จากการบรรยาย และนิทัศน์การที่จัดไว้ได้อย่างดี รวมทั้งมีข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับทางธรณีวิทยามากมาย จากการกำเนิดของโลก เรื่อยไปถึงยุคต่างๆ ไปจนถึงการเกิดของมุษย์ตลอดจนการวิวัฒนาการต่างๆสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพของเรา...
ป้ายนี้อยู่ทางเข้าที่ถนนใหญ่
ตามประวัติ ซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว ต.โนนบุรี
อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ
(พระญาณวิศาลเถร รองเจ้าคณะจังหวัดในปัจจุบัน) ต่อมาคณะสำรวจจากฝ่ายชีววิทยา
กองธรณีวิทยา (ส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
ซึ่งเป็นสำนักธรณีวิทยาในปัจจุบัน) ได้มาขุดสำรวจจนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๓๘
พบกระดูกไดโนเสาร์กินพืชมากกว่า ๖ ตัว มีกระดูกมากกว่า ๖๓๐ ชิ้น ภายในเวลาเพียง ๓ เดือน ซึ่งซากไดโนเสาร์นั้นมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักและมีจำนวนมาก ทางฝ่ายโบราณชีววิทยา จึงได้จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติภูกุ้มข้าวขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘
พบกระดูกไดโนเสาร์กินพืชมากกว่า ๖ ตัว มีกระดูกมากกว่า ๖๓๐ ชิ้น ภายในเวลาเพียง ๓ เดือน ซึ่งซากไดโนเสาร์นั้นมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักและมีจำนวนมาก ทางฝ่ายโบราณชีววิทยา จึงได้จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติภูกุ้มข้าวขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘
พิพิธภัณฑ์สิรินธร จากด้านหน้า
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๘ กรมทรัพยากรธรณีได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้น
เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร เพื่อบริการและเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน
และเป็นสถานที่ใช้ศึกษา ค้นคว้าของนักวิชาการจากทั่วโลก
ที่มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อพิพิธภัณฑ์นี้ว่า “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า ๗๐๐ ชิ้น
เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชและกินเนื้ออีกอย่างละ ๒ ชนิด จากลักษณะของกระดูกพบว่า เป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง (Phuwiangosaurus Sirindhonae) ๑ ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก ๑ ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก
ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อพิพิธภัณฑ์นี้ว่า “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า ๗๐๐ ชิ้น
เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชและกินเนื้ออีกอย่างละ ๒ ชนิด จากลักษณะของกระดูกพบว่า เป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง (Phuwiangosaurus Sirindhonae) ๑ ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก ๑ ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก
พิพิธภัณฑ์สิรินธร จากด้านข้าง
พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์
ที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า
"พิพิธภัณฑ์สิริธร" การจัดแสดงภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 การกำเนิดโลก
ส่วนที่ 2 การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ จนถึงการกำเนิด มนุษย์
ส่วนที่ 3 เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “ซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น” ซึ่งเป็นซากปลาน้ำจืดโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีชื่อว่า "เลปิโดเทส" มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ 65 ล้านปีที่แล้ว ช่วงเดียวกับไดโนเสาร์
ไดโนเสาร์คืออะไร?
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์มหัศจรรย์ และประสบความสำเร็จมากสุดเท่าที่เคยมีมา บรรพบุรุษไดโนเสาร์ขนาดเท่าสุนัขมีวิวัฒนาการเป็นนักฆ่าขนาดยักษ์หนักพอๆกับช้าง พวกกินพืชที่ตัวยาวเท่ากับรถบัสหลายคัน และพวกตัวเล็กว่องไวขนาดเท่าไก่ ในช่วงขณะที่พวกมันครองแผ่นดิน ไม่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่กว่าแมวรอดชีวิต
ไดโนเสาร์พวกแรกปรากฏขึ้นเมื่อราว 230 ล้านปีก่อน และแพร่พันธุ์ครอบครองดินแดนนานถึง 165 ล้านปี จนถึง 65 ล้านปีที่แล้วพวกมันหายสาบสูญอย่างฉับพลัน และน่าประหลาดใจ เมื่อเทียบกับไดโนเสาร์แล้ว มนุษย์เราเพิ่งอาศัยอยู่บนโลกเพียง 100,000 ปีเท่านั้น.
ไดโนสาร์เป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ อาศัยอยู่บนพื้นดิน พวกมันมีลักษณะเหมือนสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน คือส่วนใหญ่ผิวหนังเป็นเกล็ด (บางพวกมีขนแบบนก) มีหางยาว มีฟัน และมีกรงเล็บที่นิ้วตีน ในขณะที่สัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบันเดินด้วยขาที่กางออกข้างลำตัว ไดโนเสาร์กลับเดินตัวตั้งตรงบนขาเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลักษณะนี้ทำให้มันคล่องแคล่วว่องไวบนพื้นดิน
ห้องโถงก่อนเข้าชม
พิพิธภัณฑ์สิรินธรมีทั้งหมด ๘ โซน
ดังต่อไปนี้
โซนที่ ๑ จักวาลและโลก จักวาล โลก สิ่งมีชีวิตรวมทั้งไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาเรื่องราวที่ลี้ลับนี้ นับจากการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่หรือ “บิ๊กแบง” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล การกำเนิดของดาวฤกษ์และพัฒนาการของระบบสุริยะและโลก สัณฐานธรณีต่าง ๆ บนโลกรวมทั้งหินต่าง ๆ บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางธรณีวิทยา ตลอดช่วงเวลา ๔,๖๐๐ ล้านปีที่ผ่านมาของโลก ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ไปตามลำดับอายุทางธรณีวิทยา
โซนที่ ๑ จักวาลและโลก จักวาล โลก สิ่งมีชีวิตรวมทั้งไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาเรื่องราวที่ลี้ลับนี้ นับจากการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่หรือ “บิ๊กแบง” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล การกำเนิดของดาวฤกษ์และพัฒนาการของระบบสุริยะและโลก สัณฐานธรณีต่าง ๆ บนโลกรวมทั้งหินต่าง ๆ บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางธรณีวิทยา ตลอดช่วงเวลา ๔,๖๐๐ ล้านปีที่ผ่านมาของโลก ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ไปตามลำดับอายุทางธรณีวิทยา
ข้อมูลเกี่ยวกับโลก และพื้นพิภพ
โซนที่ ๒ เมื่อสิ่งมีชีวิตแรกปรากฏ ความอิ่มตัวในน้ำภายในชั้นบรรยากาศกลายเป็นฝน โดยน้ำฝนจะชะล้างเอาแร่ธาตุต่าง ๆ มารวมกันเป็นซุบข้นทางเคมี เมื่อราว ๓,๔๐๐ ล้านปีก่อน ได้มีการเกิดฟ้าผ่าลงไปยังซุบข้น ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว โดยพวกมันได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก จากที่เคยไม่มีออกซิเจนมาเป็นอุดมด้วยออกซิเจนคล้ายกับพืชในปัจจุบัน
แสดงการเกิดภูเขาไฟ
โซนที่ ๓ มหายุคพาลีโอโซอิก แบ่งออกเป็นทั้งหมด
๖ สมัย คือ
ยุคแคมเบรียน
ยุคออร์โดวิเชียน
ยุคไซลูเรียน
ยุคดีโวเนียน
ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
ยุคเพอร์เมีย
โครงกระดูกไดโนเสาร์
โซนที่ ๔ มหายุคมีโซโซอิค (mesozoic Era)
๔.๑ มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์ หลังการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ตอนสิ้นสุด มหายุคพาลีโอโซอิก สัตว์เลื้อยคลานก็ก้าวขึ้นมาครองโลก ไดโนเสาร์ครองความยิ่งใหญ่บนแผ่นดินเป็นครั้งแรก และสภาพแวดล้อมบนโลกก็ทวีความหลากหลายกว่าครั้งใด ๆ
๔.๒ ไดโนเสาร์ไทย ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ ๑๖ สายพันธุ์ โดยมีอยู่ ๕ สายพันธุ์ที่ไม่ซ้ำใครในโลก เรียงตามอายุได้ดังนี้
๑. ยุคไทรแอสสิก (Triassic Period) ได้แก่ อิสานโนซอรัส, อรรถวิภัชชิ
๒. ยุคจูแรสสิก (Jurasic Period) ได้แก่ สเตโกซอร์, ฮิบซิโลโฟดอน
๓. ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ได้แก่ ภูเวียงโกซอรัส สิรินทรเน, กินรีมิมัส, สยามโมซอรัส สุธีธรนิ, สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส, ชิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ
จำลองสภาพความเป็นอยู่ของไดโนเสาร์ยุคต่างๆ
โซนที่ ๕ วิถีชีวิตของไดโนเสาร์
การจำแนกประเภทของไดโนเสาร์แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ “ซอริสเซียน”
ไดโนเสาร์สะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ เทอโรพอด
ไดโนเสาร์กินเนื้อ และเซอโรพอด ไดโนเสาร์กินพืช “ออร์นิธิเชียน”
ไดโนเสาร์สะโพกแบบนก แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ไทรีโอโพแรน ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ
ออร์นิโธพอด ไดโนเสาร์ปากจะงอย และมาร์จิโนเซฟาเลียน ไดโนเสาร์หัวเกราะ
จำลองสภาพความเป็นอยู่ของไดโนเสาร์ยุคต่างๆ
ไข่ไดโนเสาร์จำลอง
โครงกระดูก ที่ห้องแสดงกลาง
โซนที่ ๖ คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์
สิ้นมหายุคมีโซโซอิก เกิดการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ครั้งใหญ่
นักวิทยาศาสตร์ต่างพากันสันนิษฐานสาเหตุเอาไว้ได้หลายสาเหตุ เช่น
อุกกาบาตพุ่งชนโลก, ภูเขาไฟระเบิด, การคุกคามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม,
และสนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนทิศทาง
ข้อมูลการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
ประมาณ 75 ล้านปีก่อนเป็นยุคที่มีไดโนเสาร์มากที่สุด อีก 10 ล้านปีต่อมาไดโนเสาร์ทั้งหมดยกเว้นนกได้หายไปตลอดกาล ที่จริงแล้วบนบกไม่มีสัตว์ใหญ่กว่าสุนัขรอดชีวิต สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปด้วยคือเทอโรซอร์และสัตว์ทะเลหลายชนิด
มีทฤษฎีไม่ต่ำกว่า 80 ทฤษฎีที่พยามอธิบายว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตจำนวนมากจึงถูกลบหายไปจากผืนโลก ทฤษฎีส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น ในปัจจุบันไม่มีใครเชื่อว่าไดโนเสาร์มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะผสมพันธุ์ได้
แต่จนทุกวันนี้ผู้เชี่ยวชาญยังโต้เถียงกันว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น อาจสรุปโดยใช้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ได้ยากว่า การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เกิดเร็วแค่ไหน นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากคิดว่า เป็นหายนะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เช่นมีดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางขนาดใหญ่พุ่งชนโลก..
การขุดค้น
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 นักธรณีวิทยาค้นพบหลุมอุกาบาตชิกซูแลบ กว้าง 180 กม. (112 ไมล์) คาดว่าน่าจะเกิดจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางชนผิวโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์หายไป การกระแทกอาจเป็นปรากฏการณ์เหนือความคาดหมาย เมฆหนาที่ก่อตัวจากหินและฝุ่นปกคลุมทั่วชั้นบรรยากาศบดบังแสงอาทิตย์ ไดโนเสาร์อาจตายในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่มืดและหนาว ซึ่งเป็นผลกระทบจากการหายนะในครั้งนั้น
โซนที่ ๗ มหายุคชิโนโซอิก หรือมหายุคแห่งชีวิตยุคใหม่ ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ ๖๕ ล้านปี มาแล้วจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ๒ ยุคคือ ยุคพาลีโอจีน และยุคนีโอจีน
ห้องเก็บรักษากระดูก (ฟอสซิล) ไดโนเสาร์
โครงกระดูก
ข้อมูลตามทางเดิน
ข้อมูลตามทางเดิน
โซนที่ ๘ เรื่องของมนุษย์ จาก “ไพรเมต”
หรือสัตว์ในตระกูลลิง ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์
ได้แยกตัวเองออกจากเผ่าพันธุ์ลิงใหญ่ เมื่อประมาณ ๗ – ๖ ล้านปีที่แล้ว
และเริ่มวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์ที่เดิน ๒ ขา
และอาศัยบนพื้นดินแต่ความโดดเด่นของมนุษย์อยู่ที่พัฒนาการทางสมอง
และภูมิปัญญาที่มีความฉลาดกว่าสัตว์ประเภทอื่น
ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ขวานหินไปจนถึงคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของมนุษย์
ผ่านออกมา แล้วนั่งพักตรงนี้
รูปปั้นที่สวนไดโนเสาร์
ตรงบันไดทางออกมีรูปปั้นแอมโมไนต์ แอมโมไนต์เป็นสัตว์คล้ายหมึก อาศัยอยู่ในเปลือกที่ขดเป็นวง หนวดของมันยื่นออกมาจากปลายเปิดของเปลือกเพื่อจับเหยื่อ.
ออกจากพิพิธภัณฑ์จะมีร้านอาหารอยู่หน้าประตูทางเข้า รวมทั้งขายของที่ระลึกต่างๆ ท่านจะเดินหาอะไรทานแถวนั้นได้ หรือด้านล่างพิพิธภัณฑ์ก็จะมีร้านขายอาหารด้วย.
พอหายเหนื่อยก็ขับรถวนออกอีกด้านหนึ่ง ขึ้นเนินเขาเล็กน้อย เพื่อไปชมพิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว (Phu Kum Khao Dinosaur Site Museum) เป็นที่เราสามารถมองเห็นลักษณะของฟอสซิลที่อยู่ในหลุมที่ถูกขุดค้นขึ้นมา ในบริเวณหลุมขุดเขาจะคงเหลือระดับพื้นดินเดิมเพื่อให้เรามองเห็นว่า ในหลุมนั้นอยู่ลึกเพียงใด
หน้าพิพิธภัณฑ์การขุดค้น
หลุมขุดค้น
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์
กระดูกจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์เนื่องจากถูกทับถมอย่างรวดเร็วโดยพายุทะเลทรายหรือโคลนตะกอนจากก้นแม่น้ำก่อนที่จะผุพังหรือถูกทำลายไป
เมื่อเวลาผ่านไปหลายล้านปี ทรายและโคลนจะกลายเป็นหิน
น้ำที่ไหลซึมลงใต้ดินพาแร่ต่างๆไปสะสมในรูพรุนของกระดูกทำให้แข็ง
แต่ถ้ากระดูกเหล่านี้ถูกน้ำหรือผู้ย่อยสลายทำให้กระจัดกระจายก่อนจะถูกฝัง
ผู้เชี่ยวชาญจะประกอบกลับได้ยาก
สาเหตุที่เราเห็นซากดึกดำบรรพ์เพราะหินที่เก็บรักษากระดูกถูกดันขึ้นสู่ผิวโลกและเริ่มผุพัง
นักวิทยาศาสตร์จึงค้นพบร่องรอยของสัตว์ดึดำบรรพ์
หลุมขุดค้น
กระดูกไดโนเสาร์
ประวัติการค้นพบ และการขุดค้น
การเดินทาง :
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางมิตรภาพ ถึงอำเภอบ้านไผ่ เลี้ยวขวาเข้ามหาสารคาม ต่อไปที่กาฬสินธุ์ ออกจากกาฬสินธุ์เลี้ยวซ้ายไปอำเภอสหัสขันธ์ ก่อนเข้าตัวอำเภอ 2 กม. เลี้ยวขวาเข้าวัดสักกะวัน หรือทางขวามือจะเห็นตัวหนังสือขนาดยักษ์ "อุทยานไดโนเสาร์"
พิพิธภัณฑ์สิรินธร ตั้งอยู่ ณ ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. ๐๔๓-๘๗๑-๐๑๔, ๐๔๓-๘๗๑-๓๙๔ โทรสาร. ๐๔๓-๘๗๑-๐๑๔
ที่มา :
- เอกสารแผ่นพับของพิพิธภัณฑ์สิรินธร
- Nanmeebooks พาตลุยไดโนเสาร์ โดย David Lambert (วราวุธ สุธีธรแปล)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น