คราวที่แล้วเราเดินทางขึ้นสู่แขวงเซียงขวาง
เพื่อไปชมทุ่งไหหินกัน และพักที่นั่น 1 คืน
ก่อนเดินทางมาหลวงพระบางและจบบล๊อกตรงสามแยกภูคูณกัน
วันนี้จะพาเดินทางต่อจากคราวที่แล้ว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 13 จากพูคูณสู่หลวงพระบาง เส้นทางช่วงนี้ยังเป็นเขตที่มีภูเขาสูงชันเหมือนเดิม วันนี้เราเจออุบัติเหตุรถตากเขากำลังมีคนมาดูกันอยู่ แต่เราไม่จอดหรกเพราะว่ามีคนมาดูกันเยอะแล้ว ... ที่ว่ามาดู ก็คงไม่ผิดนัก เพราะบริเวณที่รถตกลงไปนั้นสูงมากครับ
วันนี้จะพาเดินทางต่อจากคราวที่แล้ว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 13 จากพูคูณสู่หลวงพระบาง เส้นทางช่วงนี้ยังเป็นเขตที่มีภูเขาสูงชันเหมือนเดิม วันนี้เราเจออุบัติเหตุรถตากเขากำลังมีคนมาดูกันอยู่ แต่เราไม่จอดหรกเพราะว่ามีคนมาดูกันเยอะแล้ว ... ที่ว่ามาดู ก็คงไม่ผิดนัก เพราะบริเวณที่รถตกลงไปนั้นสูงมากครับ
กิ่วกระจำ ที่พักรถและทานอาหารระหว่างภูคูณ - หลวงพระบาง
เส้นทางจากภูคูณ - หลวงพระบาง
วันนี้ผมขึ้นหัวบล๊อกซะแปลก
(สำหรับคนที่ไม่ใช่คนที่เกิดในอีสาน) "ออนซอน หลวงพระบาง ๑"
หลายท่านคงจะสับสนในความหมายของคำนี้ "ออนซอน"
งั้นเรามาเล่าภาษาอีสานวันละคำกันดีกว่า
ผู้รู้บางท่านให้คำอธิบายว่า "ออนซอน" หมายถึง งาม; เพราะพริ้ง, ซาบซึ้งตรึงใจ. (เพี้ยนมาจาก อรชร) ออนชอน.= อรชร
ผู้รู้บางท่านให้คำอธิบายว่า "ออนซอน" หมายถึง งาม; เพราะพริ้ง, ซาบซึ้งตรึงใจ. (เพี้ยนมาจาก อรชร) ออนชอน.= อรชร
แต่ผมเองมองว่า คำว่า "ออนซอน" ในภาษาอีสาน น่าจะแปลว่า
น่ารัก น่าชื่นชม น่าอิจฉา เช่น เป็นตาออนซอนลูกเพิ่นแท้ เรียนเก่ง
สอบเข้าหยังกะได้ เป็นต้น ความหมายในภาษากลางก็คือ "น่าชื่นชมลูกเขานะ เรียนเก่ง
สอบเข้าอะไรก้ได้" .... ฉะนั้นบล๊อกนี้จึงเป็นบล๊อกชื่นชม หลวงพระบาง ครับ
วิวเมือหลวงพระบางยามใกล้ค่ำ (จากพระธาตุพูสี)
ออกเดินทางจากภูคูณ ซึ่งเป็นสามแยกชุมทางที่เส้นทางหมายเลข 7
มาบรรจบกับเส้นทางหมายเลข 13
เพื่อจะเชื่อมต่อไปยังหลวงพระบางและแขวงทางเหนือตามลำดับ ..
ผ่านกิ่วกระจำที่เป็นอีกแห่งหนึ่งที่รถจะมาจอดพักเพื่อเข้าห้องน้ำและทานอาหารกัน
ที่นี้มีร้านอาหารใหญ่ๆอยู่หลายร้าน ส่วนใครจะเข้าห้องน้ำก็แพงหน่อยนะ คือ 2000 กีบ ด้านหลังห้องอาหารเหล่านั้น ถ้าเดินออกไปดู จะเห็นวิวทิวเขาสลับซับซ้อนสวยงามครับ
ที่นี้มีร้านอาหารใหญ่ๆอยู่หลายร้าน ส่วนใครจะเข้าห้องน้ำก็แพงหน่อยนะ คือ 2000 กีบ ด้านหลังห้องอาหารเหล่านั้น ถ้าเดินออกไปดู จะเห็นวิวทิวเขาสลับซับซ้อนสวยงามครับ
สภาพทั่วไปโรงแรมวันซะนะหลวงพระบาง
ที่หลวงพระบาง เราจองโรงแรมผ่าน Agoda มา
ได้โรงแรมวันซะนะหลวงพระบาง อยู่ใกล้ๆบริเวณแหล่งท่องเที่ยวนั่นแหละครับ
แต่มาถึงกว่าจะหาเจอก็นานพอดูครับ เพราะไปแอบบอยู่ในถนนเล็กๆ
และป้ายหน้าโรงแรมก็ไม่มีไฟ
สภาพห้องพักถือว่าใช้ได้ครับสำหรับโรงแรมระดับ 3 ดาว มีของใช้ครบ รวมทั้งแปรงและยาสีฟันด้วย ติดห้องที่เราพักเป็นสระว่ายน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างอาคาร บริเวณภายใน จัดไว้ดีพอควร ... เราเก็บของเสร็จก็ออกไปหาข้าวเย็นทาน วันนี้ได้ร้านถูกใจแถวๆปากน้ำคาน ตกแต่งร้านคล้ายๆสวนอาหาร เดินทางมาเหนื่อยๆ วันนี้เบียร์ดำลาวหมดไปหลายขวดเหมือนกัน
สภาพห้องพักถือว่าใช้ได้ครับสำหรับโรงแรมระดับ 3 ดาว มีของใช้ครบ รวมทั้งแปรงและยาสีฟันด้วย ติดห้องที่เราพักเป็นสระว่ายน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างอาคาร บริเวณภายใน จัดไว้ดีพอควร ... เราเก็บของเสร็จก็ออกไปหาข้าวเย็นทาน วันนี้ได้ร้านถูกใจแถวๆปากน้ำคาน ตกแต่งร้านคล้ายๆสวนอาหาร เดินทางมาเหนื่อยๆ วันนี้เบียร์ดำลาวหมดไปหลายขวดเหมือนกัน
วิวที่ร้านอาหารริมน้ำคาน
หลวงพระบาง
หลวงพระบางเป็น 1 ใน 6 แขวงภาคเหนือของประเทศลาว ซึ่งประกอบไปด้วย หลวงพระบาง, อุดมไซ, ไซยะบุรี, พงสาลี, หัวพัน, บ่อแก้ว หลวงพระบางถือเป็นแขวงเอกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่สุดแขวงหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทางไปยังแขวงอื่นๆ ในภาคเหนือ จะต้องมาผ่านเมืองหลวงพระบางแทบทั้งสิ้น
หลวงพระบาง ประกอบไปด้วยเมืองบริวารทั้งหมด 12 เมือง คือ เมืองหลวงพระบาง, เมืองจอมเพชร, เมืองเชียงเงิน, เมืองนาน, เมืองปากอู, เมืองน้ำบาก, เมืองงอย, เมืองปากแซง, เมืองโพนไซ, เมืองเวียงคำ, เมืองพูคูน และเมืองโพนทอง
สภาพภูมิประเทศ: โอบล้อมด้วยหุบเขารอบด้าน มีความสูงประมาณ 1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีแม่น้ำโขง, แม่น้ำคาน และแม่น้ำอู เป็นสายน้ำหลักไหลผ่าน
สภาพภูมิอากาศ: หลวงพระบางต่างจากเมืองใหญ่อื่นๆ ของลาว เนื่องจากถูกขนาบล้อมด้วยหุบเขาล้อมด้าน ทำให้ค่อนข้างอับฝน ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ถูกเทือกเขาหลวงพระบาง ซึ่งกั้นพรมแดนไทย-ลาวยาวจากเพชรบูรณ์ถึงน่านสกัดไว้ ส่วนฝนจากอ่าวตังเกี๋ยก็ถูกเทือกเขาอันนำตรงพรมแดนลาว-เวียดนามกำบังอยู่เช่นกัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีของหลวงพระบางจึงมีเพียง 100 150 มิลลิเมตรเท่านั้น
หลวงพระบางเป็น 1 ใน 6 แขวงภาคเหนือของประเทศลาว ซึ่งประกอบไปด้วย หลวงพระบาง, อุดมไซ, ไซยะบุรี, พงสาลี, หัวพัน, บ่อแก้ว หลวงพระบางถือเป็นแขวงเอกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่สุดแขวงหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทางไปยังแขวงอื่นๆ ในภาคเหนือ จะต้องมาผ่านเมืองหลวงพระบางแทบทั้งสิ้น
หลวงพระบาง ประกอบไปด้วยเมืองบริวารทั้งหมด 12 เมือง คือ เมืองหลวงพระบาง, เมืองจอมเพชร, เมืองเชียงเงิน, เมืองนาน, เมืองปากอู, เมืองน้ำบาก, เมืองงอย, เมืองปากแซง, เมืองโพนไซ, เมืองเวียงคำ, เมืองพูคูน และเมืองโพนทอง
สภาพภูมิประเทศ: โอบล้อมด้วยหุบเขารอบด้าน มีความสูงประมาณ 1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีแม่น้ำโขง, แม่น้ำคาน และแม่น้ำอู เป็นสายน้ำหลักไหลผ่าน
สภาพภูมิอากาศ: หลวงพระบางต่างจากเมืองใหญ่อื่นๆ ของลาว เนื่องจากถูกขนาบล้อมด้วยหุบเขาล้อมด้าน ทำให้ค่อนข้างอับฝน ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ถูกเทือกเขาหลวงพระบาง ซึ่งกั้นพรมแดนไทย-ลาวยาวจากเพชรบูรณ์ถึงน่านสกัดไว้ ส่วนฝนจากอ่าวตังเกี๋ยก็ถูกเทือกเขาอันนำตรงพรมแดนลาว-เวียดนามกำบังอยู่เช่นกัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีของหลวงพระบางจึงมีเพียง 100 150 มิลลิเมตรเท่านั้น
เนื้อที่: 16,875 ตารางกิโลเมตร (6,516 ตารางไมล์)
ประชากร: หลวงพระบางมีประชากรประมาณ 408,800 คน ร้อยละ 40 เป็นลาวลุ่ม ร้อยละ 46 เป็นกลุ่มลาวเทิง และร้อยละ 14 เป็นลาวสูง ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 60,000 คน หลวงพระบางถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมของความเจริญในภาคเหนือของประเทศลาวในทุกๆ ด้านเช่น
ด้านการศึกษา ถือเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยแห่งชาติสุพานุวง, วิทยาลัยกฎหมายภาคเหนือ, วิทยาลัยการเงิน-การธนาคารเขตภาคเหนือ, โรงเรียนแพทย์และพยาบาล, วิทยาลัยครู, วิทยาลัยการช่าง (สารพัดช่าง) ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงพระบางทั้งสิ้น
ประชากร: หลวงพระบางมีประชากรประมาณ 408,800 คน ร้อยละ 40 เป็นลาวลุ่ม ร้อยละ 46 เป็นกลุ่มลาวเทิง และร้อยละ 14 เป็นลาวสูง ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 60,000 คน หลวงพระบางถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมของความเจริญในภาคเหนือของประเทศลาวในทุกๆ ด้านเช่น
ด้านการศึกษา ถือเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยแห่งชาติสุพานุวง, วิทยาลัยกฎหมายภาคเหนือ, วิทยาลัยการเงิน-การธนาคารเขตภาคเหนือ, โรงเรียนแพทย์และพยาบาล, วิทยาลัยครู, วิทยาลัยการช่าง (สารพัดช่าง) ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงพระบางทั้งสิ้น
ด้านท่องเที่ยว เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวของภาคเหนือ
เนื่องจากเป็นเมืองมรดกโลก จึงทำให้หลวงพระบาง
เป็นเมืองที่มีการเติบโตทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับต้นๆ
ของประเทศลาว
ด้านการคมนาคมขนส่ง เป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคม และขนส่งที่สำคัญของภาคเหนือประเทศลาว
หลวงพระบางเมืองมรดกโลก
องค์การยูเนสโกประกาศให้เครดิตกับเมืองหลวงพระบางว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Best Preserved City in South – East Asia) เมื่อครั้งที่มีการสำรวจเบื้องต้นในปีพ.ศ. 2533 – 2538 และได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อ “เมืองมรดกโลก” (World Heritage Town) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการจัดทำแผนให้เงินทุนสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ และองค์กรอิสระอื่นๆ หลายองค์กร จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
หลวงพระบางเมืองที่อดีตยังอยู่กับปัจจุบัน
Marthe Bassene สตรีชาวฝรั่งเศสนางหนึ่งเคยเขียนถึงเมืองหลวงพระบางไว้ในนิตยสารเมื่อปี พ.ศ. 2452 ว่า "โอ้.. ประเทศนี้ปกป้องสรวงสวรรค์แห่งความสุขในอุดมคตินี้เอาไว้ได้อย่างไร จากกระแสโลก จากความก้าวหน้าและความทะเยอทะยานในสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ! หลวงพระบางจะอยู่ในศตวรรษแห่งวิทยาการ, ผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างรวดเร็ว, ชัยชนะของเงิน, นักฝันคนสุดท้าย, คู่รักคู่สุดท้าย และจินตกวีคนสุดท้ายได้หรือ"?
กว่าหนึ่งศตวรรษผ่านไป หลวงพระบางยังคงสภาพอย่างที่มันควรจะเป็นเอาไว้ได้ เมื่อมีสถานะเป็นเมืองมรดกโลก อาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างทุกอย่างถูกดูแลเป็นอย่างดีโดยห้องว่าการมรดกโลกประจำเมือง ไม่ว่าจะดำเนินการก่อสร้าง หรือซ่อมแซมอาคารใดๆ ก็ตามในเขตเมืองเก่าจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติแบบแปลนจากหน่วยงานนี้ก่อนเสมอ
อ่านเพิ่มเติม : http://www.louangprabang.net/
ด้านการคมนาคมขนส่ง เป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคม และขนส่งที่สำคัญของภาคเหนือประเทศลาว
หลวงพระบางเมืองมรดกโลก
องค์การยูเนสโกประกาศให้เครดิตกับเมืองหลวงพระบางว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Best Preserved City in South – East Asia) เมื่อครั้งที่มีการสำรวจเบื้องต้นในปีพ.ศ. 2533 – 2538 และได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อ “เมืองมรดกโลก” (World Heritage Town) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการจัดทำแผนให้เงินทุนสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ และองค์กรอิสระอื่นๆ หลายองค์กร จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
หลวงพระบางเมืองที่อดีตยังอยู่กับปัจจุบัน
Marthe Bassene สตรีชาวฝรั่งเศสนางหนึ่งเคยเขียนถึงเมืองหลวงพระบางไว้ในนิตยสารเมื่อปี พ.ศ. 2452 ว่า "โอ้.. ประเทศนี้ปกป้องสรวงสวรรค์แห่งความสุขในอุดมคตินี้เอาไว้ได้อย่างไร จากกระแสโลก จากความก้าวหน้าและความทะเยอทะยานในสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ! หลวงพระบางจะอยู่ในศตวรรษแห่งวิทยาการ, ผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างรวดเร็ว, ชัยชนะของเงิน, นักฝันคนสุดท้าย, คู่รักคู่สุดท้าย และจินตกวีคนสุดท้ายได้หรือ"?
กว่าหนึ่งศตวรรษผ่านไป หลวงพระบางยังคงสภาพอย่างที่มันควรจะเป็นเอาไว้ได้ เมื่อมีสถานะเป็นเมืองมรดกโลก อาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างทุกอย่างถูกดูแลเป็นอย่างดีโดยห้องว่าการมรดกโลกประจำเมือง ไม่ว่าจะดำเนินการก่อสร้าง หรือซ่อมแซมอาคารใดๆ ก็ตามในเขตเมืองเก่าจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติแบบแปลนจากหน่วยงานนี้ก่อนเสมอ
อ่านเพิ่มเติม : http://www.louangprabang.net/
เช้าวันที่ 8 ธันวาคม เรานัดรถให้พาเราไปตักบาตรเช้า
โดยเราเตรียมสิ่งของตักบาตรไปจากประเทศไทยแล้ว เป็นอาหารแห้ง
ส่วนกล้วยและข้าวต้มผัด (สั่งโรงแรมไม่ทัน)
เราไปซื้อเอาที่บริเวณที่นักท่องเที่ยวไปรอตักบาตรนั่นแหละ
แต่ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า ราคาจะแพงไปหน่อย เราเคยมาที่นี่ครั้งก่อนเมื่อปี พ.ศ.
2550 เราสั่งให้เขาจัดมาให้ชุดละ 40 บาท แต่คราวนี้เราซื้อจากแม่ค้า ชุดละ 120 บาท
ไม่มีข้าวเหนียวอีกต่างหาก ... แต่ก้ไม่ว่ากันครับ
เราตั้งใจมาทำบุญอยู่แล้ว.
หลักการปฏิบัติในการเข้าร่วมพิธีตักบาตรตอนเช้า
1. ควรเฝ้าดูการตักบาตรด้วยความสำรวมและหากต้องการจะเข้าร่วมในพิธีการดังกล่าวจะต้องเกิดจากพื้นฐานของความศรัทธา และต้องปฏิบัติด้วยความเคารพอย่างแท้จริง
2. ควรซื้ออาหารจากแม่ค้าที่ขายอยู่ในตลาดตอนเช้าและหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารจากแม่ค้าที่มาวางขายตามฟุตบาทหรือที่เดินหาบขายตามหลังพระสงฆ์ หรือสามเณรเนื่องจากเป็นการกีดขวางและรบกวน(คำแนะนำ: วิธีที่สะดวกและง่ายที่สุดหากท่านไม่ทราบแหล่งซื้อท่านสามารถสั่งเฮือนพัก/โรงแรม ทุกแห่งที่ท่านใช้บริการให้เค้าเป็นผู้จัดเตรียมข้าวเหนียวและกระติ๊บใส่ข้าวให้ท่านล่วงหน้า)
3. หากท่านต้องการเพียงแค่เฝ้าชม พิธีการตักบาตร กรุณาอยู่ในจุดที่เห็นว่าเหมาะสมนั่นก็คือ จะต้องไม่เป็นการยืนในตำแหน่งที่พระสงฆ์หรือสามเณรเดินผ่านหรือกีดขวางผู้อื่นที่ต้องการทำบุญ
4.ไม่ควรถ่ายภาพพระสงฆ์หรือสามเณรในระยะประชิดจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการใช้แฟลชในการถ่ายภาพในทุกกรณี (คำแนะนำ: ควรปรับค่า ISO ที่กล้องให้สูงขึ้นหากค่าความไวชัตเตอร์ที่ได้ต่ำเกินไป หรือใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ
5. การเข้าร่วมในพิธีการตักบาตรจะต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพบุรุษควรสวมกางเกงขายาวและ สุภาพสตรีควรสวมกระโปรงหรือสวมผ้าซิ่น เสื้อของสุภาพสตรีจะต้องไม่เป็นเสื้อแบบเปลือยไหล่, เกาะอกหรือสายเดี่ยวและห้ามสวมกางเกงขาสั้นมาเข้าร่วมพิธีโดยเด็ดขาด
6. พระสงฆ์และสามเณรเป็นบุคคลที่อยู่ในศีลในธรรม ดังนั้นห้ามถูกเนื้อต้องตัวโดยเด็ดขาด
7. ห้ามนำรถโดยสารขนาดใหญ่เข้ามาวิ่งในเขตมรดกโลก (นั่นคือในตัวเมืองหลวงพระบางทั้งหมด) เพราะเป็นการกีดขวางการจราจร หากท่านต้องการเข้าร่วมในพิธีกรุณามาก่อนเวลาที่พระสงฆ์ และสามเณรจะเริ่มออกบิณฑบาต (ประมาณ05.30 น.) กรุณาอย่าขับรถตามขบวนของพระสงฆ์และสามเณรเพราะการนั่งอยู่บนรถ อาจทำให้ท่านอยู่สูงกว่าพระสงฆ์และสามเณรซึ่งชาวลาวถือว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพต่อพระสงฆ์และสามเณร
1. ควรเฝ้าดูการตักบาตรด้วยความสำรวมและหากต้องการจะเข้าร่วมในพิธีการดังกล่าวจะต้องเกิดจากพื้นฐานของความศรัทธา และต้องปฏิบัติด้วยความเคารพอย่างแท้จริง
2. ควรซื้ออาหารจากแม่ค้าที่ขายอยู่ในตลาดตอนเช้าและหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารจากแม่ค้าที่มาวางขายตามฟุตบาทหรือที่เดินหาบขายตามหลังพระสงฆ์ หรือสามเณรเนื่องจากเป็นการกีดขวางและรบกวน(คำแนะนำ: วิธีที่สะดวกและง่ายที่สุดหากท่านไม่ทราบแหล่งซื้อท่านสามารถสั่งเฮือนพัก/โรงแรม ทุกแห่งที่ท่านใช้บริการให้เค้าเป็นผู้จัดเตรียมข้าวเหนียวและกระติ๊บใส่ข้าวให้ท่านล่วงหน้า)
3. หากท่านต้องการเพียงแค่เฝ้าชม พิธีการตักบาตร กรุณาอยู่ในจุดที่เห็นว่าเหมาะสมนั่นก็คือ จะต้องไม่เป็นการยืนในตำแหน่งที่พระสงฆ์หรือสามเณรเดินผ่านหรือกีดขวางผู้อื่นที่ต้องการทำบุญ
4.ไม่ควรถ่ายภาพพระสงฆ์หรือสามเณรในระยะประชิดจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการใช้แฟลชในการถ่ายภาพในทุกกรณี (คำแนะนำ: ควรปรับค่า ISO ที่กล้องให้สูงขึ้นหากค่าความไวชัตเตอร์ที่ได้ต่ำเกินไป หรือใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ
5. การเข้าร่วมในพิธีการตักบาตรจะต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพบุรุษควรสวมกางเกงขายาวและ สุภาพสตรีควรสวมกระโปรงหรือสวมผ้าซิ่น เสื้อของสุภาพสตรีจะต้องไม่เป็นเสื้อแบบเปลือยไหล่, เกาะอกหรือสายเดี่ยวและห้ามสวมกางเกงขาสั้นมาเข้าร่วมพิธีโดยเด็ดขาด
6. พระสงฆ์และสามเณรเป็นบุคคลที่อยู่ในศีลในธรรม ดังนั้นห้ามถูกเนื้อต้องตัวโดยเด็ดขาด
7. ห้ามนำรถโดยสารขนาดใหญ่เข้ามาวิ่งในเขตมรดกโลก (นั่นคือในตัวเมืองหลวงพระบางทั้งหมด) เพราะเป็นการกีดขวางการจราจร หากท่านต้องการเข้าร่วมในพิธีกรุณามาก่อนเวลาที่พระสงฆ์ และสามเณรจะเริ่มออกบิณฑบาต (ประมาณ05.30 น.) กรุณาอย่าขับรถตามขบวนของพระสงฆ์และสามเณรเพราะการนั่งอยู่บนรถ อาจทำให้ท่านอยู่สูงกว่าพระสงฆ์และสามเณรซึ่งชาวลาวถือว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพต่อพระสงฆ์และสามเณร
มีชาวบ้านเอามาขายด้วย
เสร็จจากการตักบาตรเช้า
เราเข้าไปเดินดูชีวิตชาวหลวงพระบางในตลาดเช้า
ซึ่งตลาดก็อยู่ใกล้ๆที่นักท่องเที่ยวไปตักบาตรเช้านั่นเอง
ในตลาดที่นี่ก็คล้ายตลาดสดในต่างจังหวัดบ้านเรา แต่เน้นขายของกินประจำวัน
พวกของสดต่างๆ เช่นปลาแม่น้ำโขงตัวใหญ่ๆ สดๆ ก็มีวางขาย
รวมไปถึงสัตว์ป่าตัวเป็นๆมากมาย ที่เป็นไฮไลท์ของสินค้าที่วางขายในตลาดเช้า คือ
"ไคแผ่น" หรือสาหร่ายน้ำจืดทำเป็นแผ่นแล้วตากแห้ง ซึ่งคนที่นี่นิยมทานกันมาก
(คุณยายขายดอกไม้ที่ทางเข้าวัดเชียงทอง แกกินกับข้าวเหนียว) ...
ถ้ายากรู้ว่าชาวบ้านที่นี่เขาอยู่กินกันอย่างไร ก็ให้มาดูที่นี่ได้เลยครับ
ซ้าย : ปิ้งกล้วยและจี่ข้าว ขวา : ไคแผ่น (ทาด้วยงา)
ซ้าย : ปู ขวา : ปลาสดๆจาแม่น้ำ
ร้านกาแฟประชานิยมยอดฮิตของนักท่องเที่ยวไทย (อยู่ปากซอยเข้าตลาดเช้า)
จากตลาดเช้าเราแวะไปชมวัดเก่าแก่ของที่นี่
ซึ่งถ้ามาหลวงพระบางแล้ว ไม่ได้มาไหว้พระที่วัดเชียงทอง ก็เหมือนกับว่า
มาไม่ถึงเมืองหลวงพระบางเลยก็ว่าได้ .... วัดเชียงทองตั้งอยู่ติดแม่น้ำโขง
ซึ่งเป็นท่าเรือที่ะไปถ้ำติ่ง
วัดเชียงทอง
วัดเชียงทอง
เล่ากันว่าวัดนี้เป็นวัดเดียวที่ตอนรบกับฮ่อแล้วไม่โดนเผา สาเหตุก็มาจากว่า แม่ทัพของฮ่อเคยมาบวชที่นี่ แถมตอนยกทัพมาตีหลวงพระบาง ก็มาตั้งทัพที่นี่ด้วย ฉะนั้นความงดงามของวัดนี้จึงยังคงอยู่ครบถ้วน ใครที่มาเยือนเมืองหลวงพระบางถ้าไม่ได้มาชมความงามของวัดนี้ ถือว่ามาไม่ถึงเมืองหลวงพระบางเลยที่เดียว
วัดเชียงทอง ถือว่าเป็นตัวแทนศิลปะสกุลล้านช้างแห่งเดียวที่สมบูรณ์ที่สุด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2102 – 2103 ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ลักษณะและสถาปัตยกรรมที่เห็นในปัจจุบัน ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ใน พ.ศ. 2471 และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาวได้ให้การอุปถัมภ์มากที่สุด ที่โดดเด่นที่สุดของวัด คือ สิม หรือ โบสถ์ ทั้งภายนอกและภายใน มีจิตรกรรมฝาผนังลายรดน้ำ ภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ภายในเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน ผนังนี้ใช้วิธีการลงรักษ์ปิดทอง ที่ชาวลาวเรียกว่า “พอกคำ”
เล่ากันว่าวัดนี้เป็นวัดเดียวที่ตอนรบกับฮ่อแล้วไม่โดนเผา สาเหตุก็มาจากว่า แม่ทัพของฮ่อเคยมาบวชที่นี่ แถมตอนยกทัพมาตีหลวงพระบาง ก็มาตั้งทัพที่นี่ด้วย ฉะนั้นความงดงามของวัดนี้จึงยังคงอยู่ครบถ้วน ใครที่มาเยือนเมืองหลวงพระบางถ้าไม่ได้มาชมความงามของวัดนี้ ถือว่ามาไม่ถึงเมืองหลวงพระบางเลยที่เดียว
วัดเชียงทอง ถือว่าเป็นตัวแทนศิลปะสกุลล้านช้างแห่งเดียวที่สมบูรณ์ที่สุด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2102 – 2103 ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ลักษณะและสถาปัตยกรรมที่เห็นในปัจจุบัน ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ใน พ.ศ. 2471 และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาวได้ให้การอุปถัมภ์มากที่สุด ที่โดดเด่นที่สุดของวัด คือ สิม หรือ โบสถ์ ทั้งภายนอกและภายใน มีจิตรกรรมฝาผนังลายรดน้ำ ภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ภายในเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน ผนังนี้ใช้วิธีการลงรักษ์ปิดทอง ที่ชาวลาวเรียกว่า “พอกคำ”
กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว
เมื่อเดินทางมาถึงวัดนี้สิ่งแรกก็คือการไปชมพระอุโบสถหรือที่ภาษาลาวเรียกว่า “สิม”
แม้ขนาดจะดูไม่ใหญ่โตแต่ก็แสดงถึงสถาปัตยกรรมทางศาสนาแบบหลวงพระบางแท้ๆ
ด้วยหลังคาพระอุโบสถที่แอ่นโค้งซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น
ลดหลั่นเกือบจรดฐานจนแลดูค่อนข้างเตี้ย
ส่วนกลางของหลังคามีเครื่องยอดสีทองซึ่งชาวลาวจะเรียกว่า “ช่อฟ้า” ประกอบด้วย 17 ช่อ อันมีความหมายว่าเป็น
"สิม” (หรืออุโบสถ) ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้น ส่วน “สิม”
ที่คนสามัญสร้างจะมีช่อฟ้าเพียง 1-7 ช่อเท่านั้น
เชื่อกันว่าบริเวณช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตรงกลางของช่อฟ้าเคยใช้เป็นที่เก็บของมีค่า
ปัจจุบันเหลือเพียงช่องว่างเปล่าๆ ถัดมาที่ส่วนของหน้าบันมี “โหง่”
รูปร่างคล้ายเศียรนาคเป็นส่วนประดับตามคติธรรมทางพุทธศาสนาเมื่อเดินเข้าต่อมาที่ประตูพระอุโบสถจะสะดุดตากับลวดลายแกะสลักอันสวยงามเช่นเดียวกับที่หน้าต่าง
“ที่จริงตรงกลางสันหลังคาสิมนั่นคือส่วนที่เรียกว่าช่อฟ้า ตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบลาว ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสิมที่แตกต่างจากช่อฟ้าของโบสถ์ในเมืองไทย ช่อฟ้าของลาวจะอยู่ที่ตำแหน่งนี้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบสิมแบบไหนก็ตาม ส่วนตำแหน่งช่อฟ้าของไทย ลาวเรยกว่า โหง่ ครับ ช่อฟ้าลาวเป็นการจำลองจักรวาลตามคติของพุทธศาสนาครับ
รูปช่อฟ้าดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นภาพตัดของเขาพระสุเมรุและทิวเขาทั้ง 7 ซึ่งเป็นวงกลมล้อมรอบเขาพระสุเมรุที่อยู่สูงสุดตรงกลาง ทิวเขานี้มี 7 ชั้นเรียกว่าทิวเขาสัตตบริภัณฑ์หรือ สัตตะบูริพัน ในภาษาลาว เนื่องจากเป็นภาพตัดจึงเห็นด้านละ 7 ยอดเขาครับ ส่วนปลายทั้งสองด้านที่สูงใหญ่กว่ายอดเขาสัตตบริภัณฑ์นั้นเป็นกำแพงจักรวาลครับ ยอดเขาทั้งหมดมีปราสาทปรากฏอยู่แสดงว่าเป็นวิมานของเทพ
สังเกตดูให้ดีนะครับส่วนด้านล่างสุดของจักรวาลจะมีรูปปลาอานนท์รองรับอยู่ครับ”
“ที่จริงตรงกลางสันหลังคาสิมนั่นคือส่วนที่เรียกว่าช่อฟ้า ตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบลาว ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสิมที่แตกต่างจากช่อฟ้าของโบสถ์ในเมืองไทย ช่อฟ้าของลาวจะอยู่ที่ตำแหน่งนี้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบสิมแบบไหนก็ตาม ส่วนตำแหน่งช่อฟ้าของไทย ลาวเรยกว่า โหง่ ครับ ช่อฟ้าลาวเป็นการจำลองจักรวาลตามคติของพุทธศาสนาครับ
รูปช่อฟ้าดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นภาพตัดของเขาพระสุเมรุและทิวเขาทั้ง 7 ซึ่งเป็นวงกลมล้อมรอบเขาพระสุเมรุที่อยู่สูงสุดตรงกลาง ทิวเขานี้มี 7 ชั้นเรียกว่าทิวเขาสัตตบริภัณฑ์หรือ สัตตะบูริพัน ในภาษาลาว เนื่องจากเป็นภาพตัดจึงเห็นด้านละ 7 ยอดเขาครับ ส่วนปลายทั้งสองด้านที่สูงใหญ่กว่ายอดเขาสัตตบริภัณฑ์นั้นเป็นกำแพงจักรวาลครับ ยอดเขาทั้งหมดมีปราสาทปรากฏอยู่แสดงว่าเป็นวิมานของเทพ
สังเกตดูให้ดีนะครับส่วนด้านล่างสุดของจักรวาลจะมีรูปปลาอานนท์รองรับอยู่ครับ”
ไหว้พระด้านในสิม
ซ้าย : หอพระม่าน ขวา : โรงเมี้ยนโกศ
ส่วนวิหารด้านหลังพระอุโบสถคือ “หอพระม่าน” ภายในประดิษฐาน “พระม่าน”
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ "พระบาง" จนหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นองค์เดียวกัน
ในช่วงวันบุญขึ้นปีใหม่ของลาว (ช่วงวันสงกรานต์) จะมีการอัญเชิญ “พระม่าน”
ลงมาเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและกราบไหว้
ด้านหลังหอพระม่าน เป็นที่ตั้งของพระธาตุศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับรั้วเป็นโรงเก็บเรือใกล้กับริมแม่น้ำโขง
นอกจากนั้นในบริเวณวัดเชียงทองเมื่อท่านเดินเข้าไปทางด้านถนนโพธิสารราช ด้านขวามือจะต้องสะดุดตากับอาคารทรงโบราณมีลวดลายแกะสลักทาสีทองอร่ามขนาดใหญ่ซึ่งคนลาวเรียกว่า “โรงเมี้ยนโกศ” หรือเป็นโรงเก็บพระโกศ, พระราชรถ, ราชยานของเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. 2502 และได้สร้างโรงเมี้ยนโกศแห่งนี้ขึ้นในปีพ.ศ. 2505 ภายในมีลักษณะเป็นโถงกว้าง ผนังด้านหน้าตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงพื้นสามารถถอดออกเพื่อให้สามารถเคลื่อนราชรถออกมาได้ บริเวณกลางโรงเมี้ยนโกศเป็นที่ตั้งของราชรถไม้แกะสลักปิดทองคำเปลวรอบคัน มีพระโกศ 3 องค์ ตรงกลางเป็นโกศองค์ใหญ่
ด้านหลังหอพระม่าน เป็นที่ตั้งของพระธาตุศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับรั้วเป็นโรงเก็บเรือใกล้กับริมแม่น้ำโขง
นอกจากนั้นในบริเวณวัดเชียงทองเมื่อท่านเดินเข้าไปทางด้านถนนโพธิสารราช ด้านขวามือจะต้องสะดุดตากับอาคารทรงโบราณมีลวดลายแกะสลักทาสีทองอร่ามขนาดใหญ่ซึ่งคนลาวเรียกว่า “โรงเมี้ยนโกศ” หรือเป็นโรงเก็บพระโกศ, พระราชรถ, ราชยานของเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. 2502 และได้สร้างโรงเมี้ยนโกศแห่งนี้ขึ้นในปีพ.ศ. 2505 ภายในมีลักษณะเป็นโถงกว้าง ผนังด้านหน้าตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงพื้นสามารถถอดออกเพื่อให้สามารถเคลื่อนราชรถออกมาได้ บริเวณกลางโรงเมี้ยนโกศเป็นที่ตั้งของราชรถไม้แกะสลักปิดทองคำเปลวรอบคัน มีพระโกศ 3 องค์ ตรงกลางเป็นโกศองค์ใหญ่
หลังจากที่ไหว้พระที่วัดเชียงทองแล้ว เราก็เดินทางต่อไปที่พิพิธภัณฑ์
หรือพระราชวังเก่า ที่เจ้ามหาชีวิตลาวเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น ทางเข้าสู่พิพิธภัณฑ์
(อยู่ตรงข้ามทางขึ้นวัดพระธาตุพูสี) เราจะเห็นอาคารคล้ายสิม หรือ โบสถ์
ตรงนั้นเรียกว่า "หอพระบาง" ครับ
หอพระบาง ใกล้ๆพิพิธภัณฑ์
หอพระบาง
ภายในหอพระนี้เองเป็นที่ประดิษฐาน พระบาง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พุทธลักษณะของพระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนปางประทานอภัย ทั้งสองพระหัตถ์ หรือปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะสมัยขอมหลังบายน มีน้ำหนักประมาณ 54 กิโลกรัม ประกอบด้วยทองคำ 90 เปอร์เซ็นต์ และในหอพระนี้ยังมีพระพุทธนาคปรก สลักศิลาอีกสี่องค์และยังมีกลองโบราณอยู่ด้วย ... ปัจจุบันทางการไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพด้านใน ทั้งหอพระบาง และพิพิธภัณฑ์ครับ
(อ่านเรื่องพระบางเพิ่มเติม)
ภายในหอพระนี้เองเป็นที่ประดิษฐาน พระบาง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พุทธลักษณะของพระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนปางประทานอภัย ทั้งสองพระหัตถ์ หรือปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะสมัยขอมหลังบายน มีน้ำหนักประมาณ 54 กิโลกรัม ประกอบด้วยทองคำ 90 เปอร์เซ็นต์ และในหอพระนี้ยังมีพระพุทธนาคปรก สลักศิลาอีกสี่องค์และยังมีกลองโบราณอยู่ด้วย ... ปัจจุบันทางการไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพด้านใน ทั้งหอพระบาง และพิพิธภัณฑ์ครับ
(อ่านเรื่องพระบางเพิ่มเติม)
พระบาง (ขอบคุณภาพจากเวบ)
กับต้นตาลอายุมากกว่าร้อยปี
อาคารพิพิธภัณฑ์ ข้างในห้ามถ่ายภาพ
พระราชวังหลวงพระบาง
(พิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง)
พระราชวังหลวงพระบาง เป็นอาคารแบบฝรั่งแต่หลังคาเป็นแบบทรงลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง หันหน้าเข้าสู่พระธาตุพูสี ตัวพระราชวังเป็นหมู่อาคารเตี้ยๆชั้นเดียว ตั้งอยู่บนพื้นยกสูง มีความงดงามลงตัวของศิลปะยุคอาณานิคม ผสมกับศิลปะแบบล้านช้าง สภาพโดยรอบมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ที่ไม่หนาจนเกินไป
ประวัติของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ สืบทอดต่อมาถึงสมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือที่ชาวลาวเรียกว่า “การปลดปล่อย” รัฐบาลลาวได้เปลี่ยนพระราชวังหลวงมาเป็น “หอพิพิธภัณฑ์” ในปี พ.ศ. 2519 หลังจากที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ที่นี่อีกต่อไปแล้ว
พระราชวังหลวงพระบาง เป็นอาคารแบบฝรั่งแต่หลังคาเป็นแบบทรงลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง หันหน้าเข้าสู่พระธาตุพูสี ตัวพระราชวังเป็นหมู่อาคารเตี้ยๆชั้นเดียว ตั้งอยู่บนพื้นยกสูง มีความงดงามลงตัวของศิลปะยุคอาณานิคม ผสมกับศิลปะแบบล้านช้าง สภาพโดยรอบมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ที่ไม่หนาจนเกินไป
ประวัติของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ สืบทอดต่อมาถึงสมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือที่ชาวลาวเรียกว่า “การปลดปล่อย” รัฐบาลลาวได้เปลี่ยนพระราชวังหลวงมาเป็น “หอพิพิธภัณฑ์” ในปี พ.ศ. 2519 หลังจากที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ที่นี่อีกต่อไปแล้ว
ราชรถ ข้างหลังพิพิธภัณฑ์
ที่ตั้ง ถนนสักกะลิน
ตรงข้ามทางขึ้นพระธาตุพูสี
เปิดให้เข้าชมทุกวันยกเว้นวันอังคาร
โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาคือ
ตอนเช้า 8.00 น. - 11.30 น.
ปิดขายบัตรเข้าชมสำหรับภาคเช้าเวลา 11.00 น.
ตอนบ่าย 13.30 น. - 16.00 น.
ปิดขายบัตรเข้าชมสำหรับภาคบ่ายเวลา 15.30น.
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม 30.000 กีบ
เปิดให้เข้าชมทุกวันยกเว้นวันอังคาร
โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาคือ
ตอนเช้า 8.00 น. - 11.30 น.
ปิดขายบัตรเข้าชมสำหรับภาคเช้าเวลา 11.00 น.
ตอนบ่าย 13.30 น. - 16.00 น.
ปิดขายบัตรเข้าชมสำหรับภาคบ่ายเวลา 15.30น.
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม 30.000 กีบ
วีนนี้เที่ยวกันมาพอสมควร และบล๊อกก็ยาวมากแล้ว ขอจบตอนนี้ไว้แค่นี้ก่อนครับ
เรื่องราวในหลวงพระบางยังมีอีกโปรดติดตาม
ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ
ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ