วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

เชียงคาน...ณ เลย



วันที่ 3-4 ธันวาคม 2559 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองเชียงคาน เมืองเล็กๆชายแดนไทย-ลาว ซึ่งเป็นเมืองที่น่ารักและยังคงไว้ซึ่งความเป็นเชียงคาน ที่เรียบง่าย และน่ามาเยือน โดยครั้งนี้เรามาแค่ระยะ 2 วัน 1 คืน เพื่อที่จะได้สัผัสทะเลหมอกจากภูทอก ซึ่งว่ากันว่าเป็นจุดชมทะเลหมอกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทยเลย .... ตามมาเที่ยวเมือง เชียงคานกันเลยครับ


 ระเบียงริมโขงติดกับสวนเฉลิมพระเกียรติฯ


ไหนๆก็มาเที่ยวเชียงคานแล้ว มารู้จักประวัติอำเภอเล็ๆนี้หน่อยเป็นไร

ประวัติความเป็นมาเมืองเชียงคานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองชะนะคาม ประเทศลาว ซึ่งสร้างโดยขุนคาน โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2250 อาณาจักรล้านช้างแยกออกเป็นสองอาณาจักรคือ อาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งมีพระเจ้ากีสราชเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรเวียงจันทน์ ซึ่งมีพระเจ้าไชยองค์เว้เป็นกษัตริย์ โดยกำหนดอาณาเขตให้ดินแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไปเป็นอาณาเขตหลวงพระบาง และใต้แม่น้ำเหืองลงมาเป็นอาณาเขตเวียงจันทน์ ต่อมาทางหลวงพระบางได้สร้างเมืองปากเหืองซึ่งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่านและทางเวียงจันทน์ได้ตั้งเมืองเชียงคาน


 ถนนเลียบโขง (สะพานไม้และคอนกรีต)

เดิมเป็นเมืองหน้าด่านเช่นกัน ต่อมา พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ ตีเวียงจันทน์ได้จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย และได้กวาดต้อนผู้คนพลเมืองมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เมืองปากเหืองไปขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทยโดยยกกำลังจากเวียงจันทน์มายึดเมืองนครราชสีมา แต่ในที่สุดเจ้าอนุวงค์ถูกจับขังจนสิ้นชีวิต กองทัพไทยที่ยกมาปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครราชสีมาได้ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงมายังเมืองปากเหืองมากขึ้น และโปรดเกล้าฯ ให้พระอนุพินาศ (กิ่ง ต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองคนแรก แล้วพระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองเชียงคาน ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสะดมเมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) เป็นจำนวนมาก



 ถนนชายโขง หรือ ถนนคนเดิน

ครั้งต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคานหรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่ ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี 2484 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้

ที่มา : วิกิพีเดีย






เชียงคานมีถนนคนเดินคือถนนชายโขง ที่ยังคงอนุรักษณ์ตึกไม้เก่าๆไว้สองข้างทางเดิน ยามเย็นถึงดึกจะมีพ่อค้าแม่ค้าออกมาขายของกิน ของที่ระลึกกันจนกลายเป็นถยนนคนเดินในปัจจุบัน ที่พักประเภทโฮมสเตย์ และโรงแรมเล็กๆมีขึ้นรอบๆถนนนั้นมากมายครับ นอกนั้นยังมีวัดเก่าแก่ชื่อวัดศรีคุณเมืองให้นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้ขอพรอีกด้วย ปลายสุดถนนคนเดินทางตะวันออกติดกับริมแม่น้ำโขง จะมีสวนสาธารณะชื่อสวน "สวนเฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี" บรรยากาศร่มรื่นริมโขง มีจุดให้ถ่ายภาพมากมาย และมองฝั่งลาวได้ชัดเจนครับ .... จากตรงนั้นท่านสามารถเดินเลียบริมโขงไปทางตะวันตกโดยสะพานไม้และถนนคอนกรีต ยามเย็นจะเห็นพระอาทิตย์กำลังค่อยๆลับเลี่ยมเขาและหายไปในแม่น้ำโขงได้ ถ้าเหนื่อยนักก็แวะร้านอาหารที่ตั้งเรียงรายอยู่ติดถนนนั้นได้ ... ฉะนั้นกิจกรรมแรกที่มาเมืองเชียงคานคือเดินเที่ยวที่ถนนคนเดินนี่แหละ ส่วนยามเช้าตรู่ ถ้าใครมีเวลาว่าก็มาใส่บาตรแถวๆถนนคนเดินกัน .... แต่เรามาเที่ยวนี้ในยามเช้าเลือกที่จะไปชมทะเลหมอกที่ภูทอกกันครับ


 เข้าคิวขึ้นภูทอกโดยรถ อบต.

ภูทอก จุดชมวิวทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวเชียงคาน มีลักษณะเป็นภูเขาสูง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง บนยอดภูเป็นที่ตั้งของสถานีโทรคมนาคมเชียงคาน และเป็นจุดชมวิวทิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ของอำเภอเชียงคาน และลำน้ำโขงได้โดยรอบ  ตั้งอยู่บนถนนสายเดียวกันกับแก่งคุดคู้ซึ่งห่างจาก ตัวอำเภอ เชียงคานประมาณ 3 กิโลเมตร ใครที่ได้แวะมาเที่ยวเชียงคาน ไม่ควรพลาดการไปชมทะเลหมอกในยามเช้าที่นี่  นอกจากนี้ภูทอกยังเป็นจุดชมวิวชมความงามของแม่น้ำโขง เมืองสานะคาม และแก่งคุดคู้ได้อย่างชัดเจนด้วย

เนื่องจากนักท่องเที่ยวมากันมาก และถนนแคบ คดเคี้ยว จึงไม่อนุญาตให้นำรถขึ้นไปเอง การขึ้นภูทอกจึงต้องซื้อบัตร 25 บาท เพื่อนั่งรถ 2 แถวที่จัดโดย อบต. ไปที่จุดชมวิวครับ ค่าโดยสารนี้ใช้ได้ทั้งไปและกลับ โดยขึ้นคันไหนก็ได้ 


 ทะเลหมอกยามเช้าที่ภูทอก


เช้าวันที่ 4 ธันวาคม 2559 พอเราขึ้นไปถึงยอดภูทอกแล้ว ก็ไม่ผิดหวังครับ ได้ชมทะเลหมอกสมใจ ทะเลหมอกที่มองจากยอดภูทอกแบบ 360 องศาวันนั้นเป็นทะเลหรือมหาสมุทรหมอกจริงๆ เพราะกินอาณาบริเวณสุดลูกหูลูกตาเลยทีเดียว แต่นักท่องเที่ยวก็มามหาศาลเหมือนกัน จนบริเวณทางเดินเนืองแน่นไปหมด .... เราปล่อยให้ชมบรรยากาศไปเลยนะครับ














 มองไปทาง อ.เชียงคาน










หลังจากชมทะเลหมอกจนอิ่มกันทุกคนแล้ว เราลงมาหาอะไรทานในเมือง ก่อนจะเดินทางไปไหว้พระใหญ่กัน


พระใหญ่ภูคกงิ้ว  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์ ตั้งอยู่ที่ภูคกงิ้ว บ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม ประดิษฐานอยู่บนเนินเขาบริเวณปากลำน้ำเหืองจรดกับแม่น้ำโขง เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทาน พร หล่อด้วยไฟเบอร์ผสมเรซิ่นสีทองทั้งองค์ สูง 19 เมตร ตัวฐานกว้าง 7.2 เมตร สร้างขึ้นโดยกองทัพภาคที่ 2 และประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรม ราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ และในมหา มงคลแห่งราชพิธีราชาภิเษก ครบ 50 ปี


 สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเหืองมาบรรจบแม่โขงที่ไหลมาจากประเทศลาว

พระใหญ่ภูคกงิ้ว ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นผืนดินแห่งแรกของอีสานที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยมี "แม่น้ำเหือง" แม่น้ำอีก สายที่เป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่าง สปป.ลาว กับไทย ซึ่งตรงบริเวณที่แม่น้ำเหืองไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง นั้นจะเห็นเป็นแม่น้ำสอง สี ที่มีสีเข้ม-อ่อนต่างกันอย่างชัดเจน สามารถมองเห็นทัศนียภาพของแม่น้ำโขงในมุมสูง เป็นจุดที่มีความสวยงามไม่แพ้ที่ไหนๆ ถ้าหากมีโอกาสไปเที่ยวที่อำเภอเชียงคานแล้วอย่าลืมแวะ มาสักการะพระใหญ่ภูคกงิ้วเพื่อความเป็นสิริมงคล



 พระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์ (พระใหญ่ภูคกงิ้ว)


การเดินทางไปไหว้พระใหญ่ : จากตลาดเชียงคานผ่านสามแยกเชียงคานแล้วตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 2195 ไปทาง อ.ท่าลี่ประมาณ 20 กม. ถึงบ้านท่าดีหมี แล้วให้เลี้ยวขวาบริเวณ ร.ร.บ้านท่าดีหมี เข้าไปประมาณ 2 กม. ถึงองค์พระพุทธรูป ...ไม่มีรถโดยสารวิ่งผ่าน หากต้องการมาที่นี่ต้องเช่าเหมารถจากตัวเมืองเชียงคานมา หรือไม่ก็ขับมาเองครับ


ลากันด้วยภาพพระใหญ่ภาพนี้ครับ





วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

มหัศจรรย์ นครวัด - นครธม



ทิ้งช่วงไปหลายวันตั้งแต่ตอนแรที่เดินทางเข้ามาเสียมเรียบ และชมสถานที่บางส่วน และเที่ยวเมืองไปแล้ว ... มีหลายอย่างที่ต้องทำตามไทม์ไลน์ในเวลานี้ ขาดอะไรก้ไม่ได้ จึงทำให้การอัพบล๊อกขาดตอนไปบ้าง ก็คงไม่ว่าอะไรกันครับ

วันนี้กลับมาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างที่ถือว่ามหัศจรรย์แห่งหนึ่งของโลกยุคใหม่อีกครั้ง ตลอดจนนำภาพมาให้แฟนๆบล๊อกของนายวิคเซอร์ได้อ่านและชมกันต่อนะครับ

เราเริ่มต้นกันด้วยการเดินทางไปชมปราสาทบันทรายศรี (Bantraysri) ที่อยู่ห่างจากเมืองเสียมเรียบขึ้นไปทางเหนือประมาณ 37 กม. แต่จะยังไม่เอามาลงในบล๊อกนี้ เพราะอยากให้บล๊อกนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ นครวัด นครธมล้วนๆครับ...ฉะนั้นเราจึงของเริ่มจาก นครธมเลยละกันครับ


แผนที่ตั้งนครวัด-นครธม (Cr : Asia Explorer Travel Service)


ถ้าดูตามแผนผังที่ให้ไว้ เราจะเห็นนครธมอยู่ด้านเหนือของปราสาทนครวัดครับ ความเป็นบริเวณที่มีผู้คนมากมายมหาศาลในสมัยนั้น ยังคงเหลือแต่ศาสนสถานให้ชมเท่านั้น เพราะเมืองในสมัยก่อนสร้างด้วยไม้ และเมื่อไร้คนอาศัย ไม้ที่เป็นบ้านเรือน ตลอดถึงวังเหล่านั้นก็เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่ยังคงทิ้งสภาพบางส่วนไว้ห้เราเห็น เช่น สนามหลวง กำแพงเมือง ขนาดกว้าง 3 กม. ยาว 3 กม และประตูเข้าออกเมืองอีก 5 ประตู (แต่ละประตูก็เอาไว้ใช้ในวาระต่างกันออกไป) ... สมกับชื่อ "นครธม" นคร หมายถึงเมือง ธม หมายถึงใหญ่ นครธมจึงน่าจะหมายถึง มหานคร ในขณะนั้นนั่นเอง

เนื่องจากประตูเข้าสู่นครธมแคบพอให้รถขนาดเล็กเข้าเท่านั้น ก่อนนักท่องเที่ยวมาที่นี่ต้องเปลี่ยนรถจากบัสขนาดใหญ่มาเป็นบัสเล็กเสียก่อน หรือถ้ามากันเองตุ๊กๆ (มอเตอร์ไซด์ลาก) ดีที่สุดครับ

จากประตูเราก็มุ่งสู่ปราสาทบายน ซึ่งสองข้างทางก็ร่มรื่นไปด้วยไม่ใหญ่ที่ยังเหลืออยู่มาก




ทางเข้าพระนคร (นครธม)



นครธม

นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธม แปลว่า ใหญ่) เมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์เป็นที่สุด ไม่ว่าใครก็ตามที่เดินทางมาเยี่ยมชมเมืองพระนครหลวง และนับตั้งแต่ก้าวแรกที่จะต้องเดินทางผ่านช่องประตูเข้ามาก็ต้องตื่นตะลึงกับความโอฬารของหินทรายที่สลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้วยสายตาที่ทอดลงมายังที่ต่ำ และรอยยิ้มที่เป็นสุขหรือยิ้มแบบบายนที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทำให้ผู้พบเห็นมิอาจจะละสายตาไปได้ง่าย

ส่วนด้านข้างของกรอบประตูก็จะพบกับประติมากรรมลอยตัวพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร คอยต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลอีกเช่นกัน

สองข้างทางของสะพานที่ทอดข้ามคูเมืองด้านซ้ายเป็นศิลาทรายสลักลอยตัวของเหล่าเทวดาฉุดตัวนาค ส่วนด้านวาเป็นบรรดายักษ์กำลังฉุดดึงลำตัวพญานาคอยู่เช่นกัน ทั้งภาพสลักเทวดา นาค และยักษ์ นิยมนำมาให้กันมากในศิลปะยุคบายนนี้

เมืองพระนครหลวง นับได้ว่าเป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ย้ายมาจากนครยโศธรปุระที่มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 อันเป็นพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ประสงค์จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เมืองพระนครหลวงมีคูเมืองล้อมรอบกว้างประมาณ 80 เมตร แต่ละด้านมีความยาวถึง 3 กิโลเมตรและมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้านด้วยกัน มีพื้นที่มากถึง 9 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,625 ไร่ กำแพงแต่ละด้านก่อด้วยศิลาแลงสูง 7 เมตร

ประตูด้นทิศใต้ของเมืองพระนครหลวงจัดได้ยังมีความสมบูรณ์ของรูปประติมากรรมลอยตัวของเทวดาและยักษ์ยื้อยุดฉุดนาคเพื่อกวนเกษียรสมุทร อันเป็นตอนเริ่มจากนิยานปรัมปราที่พวกพราหมณ์เล่าถึงตอนกำเนิดโลกมนุษย์และจักรวาล

นครธม สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 รูปปั้นตามกำแพงเมืองและปราสาทต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปตามยุคสมัยของเจ้าผู้ครองนครธม ถ้าเจ้านับถือฮินดูก็จะทำลายรูปปั้นที่เคยเป็นของพุทธออกอย่างนี้เป็นต้น .... ศิลปที่เราเห็นในปัจจุบันจะเป็นแบบบายน


กำแพงพนคร


นั่งตุ๊กๆแบบนี้เข้าเที่ยวก็สะดวกดี


ตามถนนไปสู่ปราสาทบายน


หน้าปราสาทบายน



ปราสาทบายน

ปราสาทบายนสร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ โดยสิ้นเชิง เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ที่สืบทอดมากกว่า 415 ปี

ปราสาทบายนถูกสร้างโดยการนำหินมาวางซ้อนๆ กันขึ้นเป็นรูปร่าง แม้จะเป็นปราสาทไม่ใหญ่โตเท่านครวัด แต่มีความแปลกและดูลี้ลับทั้งปราสาทมีแต่ใบหน้าคน หากขึ้นไปยืนอยู่ภายในปราสาทนี้ไม่ว่ามุมไหนก็หาได้รอดหลุดพ้นจากสายตาเหล่านี้ได้เลย

นักเดินทางรุ่นเก่าที่เดินทางมายังปราสาทบายนรุ่นแรกๆ เช่น นายปิแอร์ โลตี ได้บันทึกไว้ว่า “ข้าพเจ้าแหงานหน้าขึ้นไปยังปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุม ซึ่งทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนคนแคระและทันทีทันใด เลือดในตัวข้าพเจ้าก็เกิดแข็งเย็นขึ้นมา เมื่อมองเห็นรอยยิ้มขนาดมหึมาที่กำลังมองลงมาแล้วก็รอยยิ้มอีกด้านหนึ่งเหนือกำแพงอีกด้านหนึ่งแล้วก็รอยยิ้มที่สารทแล้วก็รอยยิ้มที่ห้า แล้วก็ที่สิบ ปรากฏจากทั่วสารทิศข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนมีตาคอยจ้องมองอยู่ทุกทิศทาง”


นักท่องเที่ยวมากมาย



ปรางค์ปราสาทบายน

ปรางค์ปราสาทบายนทั้ง 54 ปรางค์ถูกสลักเป็นภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลความทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุข รอยยิ้มที่ระเรื่อนี้เรียกว่ายิ้มแบบบายนเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ใบหน้าเหล่านั้นหากนับรวมกัน 54 ปรางค์ปราสาทปรางค์ปราสาทละ 4 หน้า จะมีรวมถึง 216 หน้า แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปหลายหน้าแล้ว

รอบๆ ปรางค์ประธานประกอบด้วยระเบียงคต 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ชั้นนอกมีขนาดกว้าง 140 เมตร ยาว 160 เมตร ชั้นในมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 80 เมตร หน้าโคปุระทุกด้านมีภาพประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ทั้งสองข้างของบันได ปรางค์ประธานมีลักษณะเป็นทรงกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 25 เมตร และสูง 43 เมตร เหนือจากระดับพื้น ตัวปราสาทโดยรอบแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบระเบียงคตด้านนอก ชั้นระเบียงคตด้านใน และบนสุดเป็นชั้นของปรางค์ประธาน และปรางค์บริวารที่ทุกปรางค์จะมีภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผินพระพักตร์มองออกไปทั้งสี่ทิศ




มุมมหาชนที่หน้าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (หน้ายิ้ม)











ออกจากปราสาทบายน เขาพานั่งรถออกไปจากกำแพงเมือง แต่ก่อนออกก็พาวนดูทุ่งกว้างที่เรียกว่า "สนามหลวง" เราหลับตานึกถึงวันที่พระนครแห่งนี้ช่วงรุ่งเรืองถึงขีดสุด คงจะคราคร่ำไปด้วยฝูงชนมหาศาลเมื่อมีงานพิธีต่างๆ เพราะตามข้อมูลที่มีบอกว่าช่วงพระนครเจริญสุดขีดจะมีประชากรทั้งในกำแพงและรอบๆกำแพงด้านนอกกว่า 1 ล้านคน ซึ่งมากกว่าประชากรของลอนดอน หรือ นิวยอร์คในช่วงเวลาเดียวกันมาก

รถวิ่งออกนอกกำแพงนครผ่านปราสาทขนาดใหญ่ที่กำลังสร้าง (สร้างไม่เสร็จ) จำชื่อไม่ได้ ซึ่งไกดืเราเล่าให้ฟังว่าขณะที่ปราสาทนี้กำลังสร้างเพื่อเป็นศานสถานอยู่นั้น ก็เกิดฟ้าผ่าลงมา ซึ่งถือว่าไม่เป็นมงคล เขาเลยเลิกสร้างและคาไว้อย่างนั้น .... ถ้าสร้างจนเสร็จ ไม่แน่นะที่นั่นอาจจะเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากก็ได้


แอบถ่าย pre-wedding ที่ปราสาทตาพรม



ผ่านทางเดินที่เป็นพงป่าเข้าไปจนถึงตัวปราสาทตาพรหม เขาก็เริ่มจัดระเบียบทางดินแบบวันเวย์ให้นักท่องเที่เข้าไปชม ที่ทำแบบนั้นคงเพราะว่า ซากปรักหักพังที่เป็นก้อนศิลาทรายวางกระจัดกระจายอยู่หลายที่ (ร่องรอยของการพังทลายยังมีอยู่มากกว่าที่อื่น) ที่นี่จุดเด่นก็คือรากไม้สะปงที่แผ่ปกคลุมปราสาทบางส่วนครับ ใกล้ๆรากต้นสะปงเขาจะเอาไม้กั้นเป็นคอกไว้ให้นักท่องเที่เข้าไปถ่ายภาพอย่างใกล้ชิด .... เสียดายก็แต่ท้องฟ้าไม่เป็นใจเท่านั้น ยิ่งเป็นเวลาใกล้เที่ยงแบบนี้ยิ่งได้ภาพที่ไม่สมบูรณ์เลย


วันนี้เห็นคู่รักชาวกัมพูชามาถ่ายภาพปรีเวดดิ้ง (Pre-wedding) ดูวิธีการแต่งกายแล้ว ก็เหมือนชุดไทยโบราณบ้านเราไม่มีเพี้ยน ดูแล้วก็ให้ได้คิดว่า ใครเลียนแบบใครกันแน่ หรือมันคืออารยธรรมเดียวกันเพียงแต่หลังยุคนครรัฐกลายมาเป็นประเทศเขมร ไทย ลาว สิ่งเหล่านี้เลยถูกอุปโหลกเป็นวัฒนธรรมของใครมันก็ไม่รู้?


ที่ปราสาทตาพรม



ปราสาทตาพรหม

จัดได้ว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาและเป็นวิหารหลวงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทางเข้าประกอบด้วยโคปุระชั้นนอกและชั้นใน บริเวณผนังที่อยู่เชื่อมระหว่างโคปุระชั้นนอกและชั้นในมีการสลักภาพตามคติธรรมของพุทธศาสนานิกายมหายาน ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1729 เพื่ออุทิศให้แก่พระราชมารดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือพระนางชัยราชจุฑามณีผู้เปรียบประดุจกับพระนางปรัชญาปรมิตา ซึ่งหมายถึงเมื่อพระองค์เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระราชมารดาของพระองค์จึงเปรียบดังพระนางปรมิตาเช่นกัน

ปราสาทตาพรหมถูกสร้างเคียงคู่กับปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระองค์ทรงถวายอุทิศให้กับพระราชบิดา ปราสาทตาพรหมนี้สร้างหลังปราสาทพระขรรค์เพียง 5 ปี ที่น่าประหลาดใจคือพิธีในปราสาทยุคนั้น ซึ่งจารึกกล่าวถึงบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทแห่งนี้คือ จำนวนคนและบรรดาทรัพย์สินจากหมู่บ้านจำนวนถึง 3,140 หมู่บ้าน ใช้คนทำงานถึง 79,365 คน และจำนวนนี้มีพระชั้นผู้ใหญ่ 18 รูป เจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,740 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,202 คน และนางฟ้อนรำอีก 615 คน สำหรับทรัพย์สมบัติของวัดก็มีจานทองตำ 1 ชุดหนักกว่า 500 กิโลกรัม และชุดเงินเพชร 35 เม็ด ไข่มุก 40,620 เม็ด หินมีค่าและพลอยต่างๆ 4,540 เม็ด อ่างทองคำขนาดใหญ่ ผ้าบางสำหรับคลุมหน้าจากประเทศจีน 876 ผืน เตียงคลุมด้วยผ้าไหม 512 เตียง ร่ม 523 คัน ยังมีเนย นม น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ไม้จันทน์ การบูร เสื้อผ้า 2,387 ชุดเพื่อแต่ง รูปปั้นต่างๆ กล่าวกันว่าความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อนี้เองเป็นเหตุให้เกิดความล่มสลายของอาณาจักรขอมในเวลาต่อมา




ปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทที่ถูกปล่อยให้อยู่กับธรรมชาติ หลังจากการค้นพบปราสาทต่างๆ โดยชาวฝรั่งเศส แต่เดิมปราสาทนครวัดเองก็อยู่ในลักษณะเช่นนี้ก่อนที่จะมีการบูรณะในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ในขณะที่ปราสาทตาพรหม ถูกเก็บรักษาไว้เพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงว่าปราสาทอยู่กับธรรมชาติมาได้เกือบ 500 ปี อันเป็นอีกมุมมองหนึ่ง เพื่อให้เห็นลักษณะของต้นไม้ที่เกาะกุมปราสาท

เดิมก่อนสร้างปราสาทนั้นสภาพบริเวณนี้เป็นป่ามาก่อน เมื่อจะสร้างปราสาทจึงต้องเคลียร์พื้นที่ให้เป็นที่โล่ง โดยการตัดไม้ออกแต่ในที่สุดแล้วธรรมชาติก็สามารถที่จะเอาชนะถาวรวัตถุที่ถูกสร้างจากมนุษย์ ต้นไม้ที่เกาะกุม ชอนไชไปเรื่อยๆ ไปยังส่วนต่างๆของปราสาท ช่วยให้บรรยากาศของปราสาทตาพรหมดูลึกลับ สวย ไม่เหมือนปราสาทที่อื่นๆ

ที่ปราสาทตาพรหมมีต้นไม้อยู่ 2 ชนิด ต้นที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า ต้นสะปง หรือภาษาไทยเรียกว่า ต้นสำโรง เป็นต้นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน รกของมันจะดุดน้ำใต้ดินเข้าลำต้นทำให้นกดูป่อง พอง ส่วนพันธุ์ไม้อีกพันธุ์หนึ่งเป็นไม้เลื้อยขึ้นอยู่ตามหน้าบัน ทับหลังหรือตัวปราสาท หลังคา ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก บ้างก็แห้งตายคาอยู่ บ้างก็ยังเขียวสดอยู่ เกิดจากการที่นกมาขับถ่ายมูลที่มีเมล็ดของพันธุ์นี้ทิ้งไว้ บริเวณใดของปราสาทที่มีน้ำขังอยู่มีตะไคร่น้ำที่ให้ความชุ่มชื้น ก็สามารถทำให้เมล็ดพันธุ์เติบโตเป็นต้นได้ ทั้งไม้เล็กและไม้ใหญ่ต่างเติบโตตามสภาวะที่เอื้ออำนวยรากของไม้ใหญ่ที่แทรกชอนไชไปบนแผ่นศิลา เพื่อจะหาที่ลงดินเกิดเป็นรูปทรงคล้ายหนวดปลาหมึกเกาะกุมองค์ปราสาททำให้ช่วยประคองยึดตัวปราสาทไม่ให้พังลงมาได้




ปราสาทตาพรหมนั้น ในรัชกาลที่กษัตย์นิยมฮินดูได้อำนาจคือจากกษัตริย์นับถือพุทธ จึงให้มีการทำลาย และมีร่องรอยการทำลายมากที่สุด เพราะความต่างของการนับถือศาสนา ปราสาทตาพรหมจึงไม่หลงเหลือศิลปะให้พวกเราได้เห็นมากนัก และเนื่องจากใช้ถ่ายทำหนังหลายเรื่อง เช่น ทูมไรเดอร์ เจมส์บอนด์ ฯลฯ นักท่องเที่ยวจึงเข้าคิวเพื่อถ่ายรูปกับรากไม้มากกว่าซาบซึ้งในศิลปกรรม

หลังอาหารเที่ยงในเมืองเสียมเรียบ ซึ่งก็เป็นอาหารจีนรสชาตกัมพูชา (คือออกหวาน) เร็จเราก็เดินทางกลับไปที่ปราสาทนครวัด ซึ่งก็อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก (ดูแผนที่ประกอบ) รถเราเป็นรถบัสขนาดกลางจึงต้องจอดส่งผู้โดยสารที่ลานจอดรถ และต้องเดินเข้าไปตามถนนในภาพด้านบนอีกประ 400 เมตร ท่ามกลางอากาศร้อนเดือนกุมภาพันธ์ในเขมร ตามทางเดินเข้าไปที่สะพานจะมีห้องน้ำให้เข้า โดยรวมถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าหากคุณๆไม่อยากเดินจะนั่งตุ๊กๆ (มอเตอร์ไซด์ลาก) เข้าไปก็ได้ เขาคิดคนละ 10 บาท แต่ จขบ. เดินเอาครับ
ถนนจากที่จอดรถเข้าสู่สะพานข้ามคูน้ำ นครวัด

เจ้าหน้าที่จะคอยดูบัตรที่เราใช้ห้อยคอ (เหมือนไปสัมนา) ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้น ... บัตรนั่นเราไปซื้อกันตั้งแต่เย็นวานนี้แล้วครับ ในบัตรมีรูปถ่ายเราด้วย...ข้ามสะพานที่ทอดข้ามคูน้ำขนาดใหญ่เข้าไป ก็ถึงกำแพงชั้นนอก ก่อนที่จะลงเดินตามสะพานเข้าไปอีกร้อยกว่าเมตร ... ทางด้านซ้ายมือของทางเดินเชื่อมกำแพงชั้นนอกกับชั้นในจะมีบ่อน้ำขนาดใหญ่ นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายภาพสะท้อนน้ำกันที่นี่ .... เวลาที่น่ามาชมปราสาทนครวัดที่สุดคือประมาณ 17.00 น




นักท่องเที่ยวเยอะมาก


นครวัด

นครวัด เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร

ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม

ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดสู่สายตาชาวโลกนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา ที่จริงชาวกัมพูชาไม่เคยละทิ้งนครวัดไปเพราะหลังจากมีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่พนมเปญแล้ว ชาวบ้านก็ได้เขาไปตั้งรกรากภายในเขตนครวัดเรื่อยมา ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก


ณ มุมมหาชน ในวันที่ท้องฟ้าสลัวๆ

ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง

ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี

หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาท

ที่มา : วิกิพีเดีย


รายละเอียดของนครวัดขอนำมาลงไว้เพียงแค่นี้ครับ คิดว่าคงหาอ่านเพิ่มเติมไม่ยาก


สภาพทั่วไปยังสมบูรณ์ดีมาก


ภาพแกะสลักบนกำแพงที่เล่าเรื่องราวของเมืองและรามเกียรติ์


ใต้ยอดปราสาทด้านในสุด




ผู้คนมากมายต่อคิวเพื่อขึ้นชมทัศนียภาพจากชั้นบนสุดของปราสาท


วันที่เข้าไปชมนักท่องเที่ยวเยอะมาก เข้าคิวยาวเหยียดเพื่อขึ้นชมชั้นบนสุดของยอดปราสาทองค์กลาง ซึ่งถือว่าถ้าได้ขึ้นไปชมแล้วเหมือนได้ขึ้นไปสู่สรวงสรรค์ เพราะบนนั้นชาวฮินดูเขาจะประมาณว่าคือเขาพระสุเมรุที่ประทับของพระศิวะ ... ในทางอื่นคือข้างบนนั้นเราสามารถมองเห็นบริเวณปราสาทนครวัดดดยรอบได้ ... ในเมืองเสียมเรียบเขาไม่ให้สร้างตึกสูงเกินกว่ายอดปราสาทนี้ คือ 65 เมตร ซึ่งเขาถือว่าไม่เหมาะสมครับ










มุมต่างๆด้านใน


ภาพแกะสลักนางอัปสร


อัปสร หรือ นางอัปสร

สิ่งที่ชาวเขมรนับถือและเอามาตั้งชื่อสถานที่ต่างอีกหนึ่งอย่างคือ อัปสร หรือ นางอัปสร ซึ่งเขาถือว่าเป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง มีเพศเป็นหญิง อาจเรียกว่า นางฟ้า ก็ได้ แต่ไม่ใช่เทวดา มีฐานะเป็นอมนุษย์ บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา ดังความปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะ ของอินเดีย

คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์

ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในตำนานของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ

ตามตำนานของฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา

นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมูเซ (muse) ของกรีกโบราณ

นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย

ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป

ที่มา: วิกิพีเดีย

สะพาน ทางเข้า-ออก




คูน้ำขนาดใหญ่ รอบนครวัด


มื้อค่ำที่ร้านอาหาร พร้อมการแสงพื้นเมือง


จบการทัวร์ชมปราสาทในวันนี้แล้ว เราก็ไปทานมื้อเย็น ซึ่งเป็นร้านอาหารแบบบัพเฟท์ คนเยอะมากๆ มีอาหารมากมายหลายเชื้อชาติ อาหารไทยภาคกลาง ไทยอีสานมีหมด สังเกตุว่าทัวร์เกือบทุกคณะมีโปรแกรมมาลงทานมื้อเย็นกันที่นี่ ที่เขามาที่นี่กันเพราะมีโชว์พื้นเมืองของเขมรด้วย มีรำอยู่อย่างหนึ่งตัวละครแต่งตัวคล้ายโขนตัวหนุมานในบ้านเรา แต่เรื่องแต่งกายไม่ละเอียดและปราณีตเท่าเราครับ

จบจากมื้อเย็นถ้าใครมีแรงอยากจะไปเดินย่านถนนคนเดินต่อก็ได้เพื่อซื้อสินค้าในยามค่ำคืน แต้ จขบ.ขอตัวกลับไปโรงแรมดวดเบียร์ Angkor ต่อดีกว่า พอได้ที่ก็เข้านอนสบาย .... เจอกันในบล๊อกหน้าซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของการเยือนนครวัดนครธมครับ


เมือนกับโขนบ้านเรา


ก่อนจาก:

มีคำถามมากมายว่า "เหตุใดมหานครอันยิ่งใหญ่ถึงล่มสลาย?" และก็มีคำตอบมากมายหลายปัจจัยที่ผู้รู้อรรถาธิบายไว้อย่างน่าคิด ซึ่งคงหนีไม่พ้นปัจจัยที่เรียกว่า เศรษฐกิจ การเมือง ภัยธรรมชาติ และต่างประเทศ ... ลองไปอ่านตามลิงค์นี้ดูนะครับ เขาเขียนไว้ดีมาก http://pantip.com/topic/30633750

เมื่อมนุษย์คือสัตว์สังคม การพึ่งพาซึ่งกันและกันจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะพึ่งพากันเองในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกันหรือต่างชาติต่างวัฒนธรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่เกื้อหนุนให้ดำรงค์เผ่าพันธุ์อยู่ได้ จนเกิดการพัฒนาการเป็นประเทศซึ่งก็คือผู้คนร่วมภาษาและวัฒนธรรม ประเทศจะดำรงค์อยู่ต่อไปได้เพราะประชาชน ไม่ใช่ผู้ปกครองเพียงอย่างเดียว ... ฉะนั้นสังคมยิ่งพัฒนาขึ้นการรับฟังและการมีส่วนร่วมในการปกครองจึงยิ่งจำเป็น ... ข้อคิดจากการล่มสลายของอณาจักรใหญ่ๆจึงเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าสำหรับชนชาติในปัจจุบัน.

ผมคิดมันเรื่อยเปื่อยเพราะอำนาจ Angkor เบียร์หรือเปล่าก็ไม่รู้ รู้แต่เพียงว่าหลับไปและตื่นขึ้นมาอีกครั้งเหมือนทั้งหมดนั้นอยู่ในความฝัน




จากกันด้วยภาพโรงแรม Regency Angkor ยามเช้า