วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย




วันที่ 15 มกราคม 2555 หลังจากที่เราไปเยือนอุ้มผาง และชมน้ำตกทีลอซูอันยิ่งใหญ่แล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องเดินทางกลับบ้าน โดยมีจุดหมายที่จะแวะที่ต่อไปคือตลาดริมเมย แม่สอด (รีวิวไปแล้ว) และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอาจจะต้องพักค้างคืนแถวๆสุโขทัย ก่อนเดินทางกลับขอนแก่น

เราออกจากเมืองอุ้มผางประมาณ 09:00 น. และขับย้อนกลับทางเดิมคือถนนสายที่ 1090 ค่อยๆขับไปโดยหวังจะได้เจอทะเลหมอกตามหุบเขาบั้าง เพราะฝนเพิ่งตกไปเมื่อวานนี้เอง แต่ก็แห้วครับ เห็นบ้างนิดหน่อยตอนออกจากอุ้มผางมา หลังจากนั้นก็ขับแวะเก็บภาพมาเรื่อย จนมาถึงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเอาตอน 16:10 นาฬิกา

ถ้าจะว่าพาชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยนั้นคงไม่ถูกนัก เพราะวันนี้มีเวลาพาคุณๆไปชมแค่วัดมหาธาตุเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ








จากด้านประตูทางเข้าวัดมหาธาตุ







พระใหญ่ที่วัดมหาธาตุ





วัดมหาธาตุ

ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่ และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย ประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์ราย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจ พบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่าง ๆ มากถึง 200 องค์ วิหาร 10 แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) 8 ซุ้ม พระอุโบสถ 1 แห่ง ตระพัง 4 แห่ง


เจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ ซึ่งตั้งเด่นสง่างามมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมถือว่าเป็นสถาปัตยกรรม ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยโดยแท้ แต่คงมิได้เป็นรูปแบบแรกเริ่มเมื่อมีการสร้างวัดมหาธาตุขึ้น ของเดิมน่าจะมีลักษณะเช่นเดียวกับเจดีย์ทิศที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน และตั้งอยู่ตรงกลางของด้านทั้งสี่ รายรอบเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทิศจำนวน 8 องค์ องค์ที่อยู่ตรงมุมทั้งสี่เป็นเจดีย์ที่มีอิทธิพลของศิลปะหริภุญไชย ล้านนา ส่วนเจดีย์ที่อยู่กึ่งกลางของด้านทั้งสี่เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย ซึ่งมีลวดลายปูนปั้นแบบอิทธิพลศิลปะลังกา รอบ ๆ เจดีย์ประธานมีปูนปั้นรูปพระสาวกในท่าอัญชุลี เดินประทักษิณโดยรอบพระมหาธาตุ





ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ มีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพมหานคร ที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า พระอัฎฐารศ ที่มีขนาดใหญ่สูงราว 18 ศอก ประดิษฐานภายในมณฑปที่ขนาบอยู่สองข้างของเจดีย์ประธาน


ถัดจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ ไปทางตะวันออกเป็นวิหารสูง ที่เรียกชื่อเช่นนี้ เนื่องจากวิหารหลังนี้มีฐานก่ออิฐเป็นลักษณะฐานบัว มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นในภายหลัง ทำให้พื้นที่ว่างระหว่างหน้าวิหารสูงกับกำแพงแก้วด้านหน้าเหลือเพียงพื้นที่แคบ ๆ ไม่ได้สัดส่วนกับความสูงของตัวอาคาร นอกจากนี้ภายในวัดมหาธาตุยังมีกลุ่มเจดีย์จัดแยกออกเป็นกลุ่มหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์พระธาตุ มีศูนย์กลางอยู่ที่เจดีย์ 5 ยอด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นที่ 2 รองจากเจดีย์พระธาตุ

ที่มา : http://www.siamfreestyle.com/travel-attraction/sukhothai/วัดมหาธาตุ.html




















ความสำคัญทางประวัติศาสตร์

บริเวณที่ตั้งของจังหวัดสุโขทัยเป็นบริเวณที่ราบตอนล่างของภาคเหนือ ได้ค้นพบหลักฐานการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่พบใน เขตอำเภอศรีนคร อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอคีรีมาศ ซึ่งแสดงถึงหลักฐานทางชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนเหล่านี้คงอยู่ต่อเนื่องกันและตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นในเวลาต่อมา

จนกระทั่งประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1100 เป็นต้นมา) ชุมชนบริเวณนี้ได้มีการ ติดต่อกับดินแดนอื่นแถบบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นฐานวัฒนธรรมแบบทวารวดี โดยได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย














หลักฐานทางศิลปกรรมในเขตเมืองเก่าสุโขทัยที่ศาลตาผาแดง และปรางค์เขาปู่จาในเขตอำเภอคีรีมาศ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของวัฒนธรรมเขมรโบราณในราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.1700 เป็นต้นมา) และน่าจะเป็นการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองในวัฒนธรรมเขมร ในบริเวณที่ราบเชิงเขาหลวงเป็นครั้งแรก จนราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ปรากฏเรื่องราวการตั้งตนเป็นอิสระ เพื่อ ปกครองสุโขทัยของกลุ่มชน ซึ่งต่อมาเป็นบรรพชนของคนไทยในปัจจุบัน














สุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม และเริ่ม ชัดเจนมากขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ. 1781 - 1822) อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 1841) อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วง รัชสมัยของพระองค์มั่นคงมาก ได้ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญทั้งด้านประวัติ-ศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย และ อื่น ๆ ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วงหรือสุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา














ในการประชุม ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เมื่อ พ.ศ.2534 คณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทาง สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2531

ที่มา : www.panyathai.or.th








































































































เราใช้เวลาเดินชมความยิ่งใหญ่ของอาณาจักสุโขทัยที่ได้ทิ้งร่องรอยให้เราได้ชมในวันนี้จนถึง 17 นาฬิกาเศษๆ ก่อนที่จะขับรถออกจากเมืองเก่ามุ่งหน้าเข้าตัวเมืองสุโขทัย และมีเป้าหมายในการค้างแรมคืนนี้ที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์








กำลังเตรียมจัดงาน







ที่ตั้งและการเดินทาง

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย-ตาก 

ในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส 

บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมมากมาย 

อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน เปิดให้ เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 18.00 น.) หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน 

ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าเขตโบราณสถานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย และที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 20 บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการ รถจักรยาน ให้เช่าในราคาคันละ 20 บาท 

กรณีเข้าชมเป็นหมู่เป็นคณะ และต้องการวิทยากรนำชม หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. 0-5569-7310 0-5569-7310 

การเดินทาง จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที









ลากันด้วยภาพนี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น: