++ เมืองโบราณศรีเทพ ++
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธุ์ 2567 มีโอกาศได้ไปชมความยิ่งใหญ่ของเมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่เพิ่งได้ขึ้นทะเทียนเป็นเมืองมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมใหม่ล่าสุดของไทยจาก UNESCO ... โดย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ยูเนสโก ประกาศให้ เมืองโบราณศรีเทพ "เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม" ซึ่งเป็นแหล่งที่ 4 ของไทย และเป็นมรกดโลกแห่งที่ 7 ของประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments การได้ไปยืน เดิน และชมโบราณสถานแห่งนี้ นับว่าเป็นเรื่องโชคดีมากๆ ได้จินตนาการกับการดำรงอยู่และความยิ่งใหญ่ในสถาปัตยกรรม ชุมชน ของคนในยุคนั้น ไม่ว่าเขาจะมีเชื้อสายใดก็ตาม แต่สิ่งที่เห็นตามที่ยังเหลืออยู่นั้นมันยิ่งใหญ่สมควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง. แผนผังเมืองศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี มีร่องรอยโบราณสถานที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันมากมาย โบราณสถานส่วนใหญ่มีรูปแบบศิลปะทั้งแบบทวารวดี และเขมรโบราณ หลายคนเรียกสถานที่นี้ในชื่อสั้น ๆ ว่า “เมืองโบราณศรีเทพ” เขาคลังนอกก่อนขุดค้น เราขับเข้าเมืองศรีเทพและตามทางหลวงหมายเลข 2219 ไปทางวิเชียรบุรี พอถึงโรงเรียนบ้านบึงนาจานขับเลยไปนิดเดียวมีทางเลี้ยวซ้ายไปโบราณสถานเขาคลังนอก โดยขับไปประมาณ 2 กม. ก็จะถึงที่ตั้งโบราณสถานเขาคลังนอก ซึ่งยิ่งใหญ่และอลังการมากๆ บริเวณข้างๆโบราณสถานเขาคลังนอกยังมีการขายสินค้า OTOP ของชาวบ้าน พร้อมของที่ระลึกเกี่ยวกับโบราณสถานศรีเทพนี้ด้วย ... ที่อาคาร Information (ศูนย์ข้อมูล) ยังแสดงแบบจำลองให้เราได้ชมด้วย ภาพมุมสูง (Cr. ภาพจาก web) โบราณสถานเขาคลังนอก เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี ตั้งอยู่นอกเมือง ห่างออกไปราว 2 กิโลเมตร สันนิษฐานว่ามีลักษณะเป็นมหาสถูป มีฐานขนาดใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ประดับตกแต่งฐานด้วยอาคารจำลองขนาดต่างๆอยู่โดยรอบ ภายในทึบตัน มีบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน ถือได้ว่าเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์มากที่สุดในบรรดาศาสนสถานที่ร่วมสมัยเดียวกัน แบบจำลองโบราณสถานเขาคลังนอก กราฟฟิกภาพเขาคลังนอก (Cr. Thai PBS) ที่มาของชื่อเขาคลังนอก เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่เดิม เพราะเหตุว่ามีรูปร่างลักษณะคล้ายภูเขาสูงใหญ่และเชื่อกันว่ามีทรัพย์สมบัติ และอาวุธเก็บรักษาอยู่ภายใน ประกอบกับในเขตเมืองโบราณศรีเทพ มีโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายภูเขาที่เรียกว่า “เขาคลังใน” จึงได้เรียกโบราณแห่งนี้ว่า “เขาคลังนอก” โบราณสถานเขาคลังนอกเปิดให้เข้าชมทุกวัน ฟรี. ...................... จากโบราณสถานเขาคลังนอกเราขับออกไปทางเดิมที่เราเข้ามา ตามป้ายไปอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักสำหรับการเที่ยวชมเมืองโบราณศรีเทพในคราวนี้....เมืองศรีเทพเขามีคูน้ำล้อมรอบนะ เราข้ามคูน้ำถึงประตูเข้า แล้วไปที่ลานจอดเพื่อติดต่อซื้อบัตรเข้าชม โดยคนไทยค่าเข้าชมชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 16.30 น. หรือโทร. 0 5692 1317, 0 5692 1322 เมืองโบราณศรีเทพ มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,889 ไร่ และแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่เชื่อมกัน คือ เมืองส่วนใน (1,300 ไร่) และเมืองส่วนนอก (1,589 ไร่) มีสระน้ำและโบราณสถานกระจายอยู่ทั้งสองส่วน ซึ่งจากการขุดค้นพบว่า เฉพาะส่วนด้านในมีสระน้ำ หนองน้ำกระจายอยู่กว่า 70 บ่อและมีร่องรอยของโบราณสถานกว่า 48 แห่ง ซึ่งภายในอุทยานฯ จะมีรถรางนำเที่ยวชมรอบอุทยานฯ (นั่งได้ไม่เกินคันละ 20 คน) สามารถติดต่อล่วงหน้าเพื่อขอไกด์นำบรรยายได้ แผนผังการเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ...เริ่มจากอุทยานศรีเทพด้านบน เข้าไปในเมืองใน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นพื้นที่ในส่วนเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,889 ไร่ หรือประมาณ 4.7 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแบบเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี ที่ยังคงสามารถรักษารูปแบบแต่เดิมไว้ได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุดโดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแห่งหนึ่งของประเทศไทย แบ่งพื้นที่ภายในเป็นสองเมืองที่นับได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะที่พบไม่มากนักในเมืองร่วมสมัยเดียวกันที่พบในปัจจุบัน โดยเมืองในมีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ เป็นเมืองรูปเกือบกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีช่องประตูเมือง 6 ช่องทางและมีโบราณสถาน ซึ่งได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้วทั้งหมดประมาณ 40 แห่ง อันมีโบราณสถานเขาคลังใน โบราณสถานปรางค์สองพี่น้องและโบราณสถานปรางค์ศรีเทพเป็นกลุ่มโบราณสถานสำคัญ รวมทั้งมีสระน้ำและหนองน้ำขนาดใหญ่จนถึงเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปประมาณ 70 สระ ในขณะที่ เมืองนอกมีพื้นที่ประมาณ 1,589 ไร่ เป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อออกไปทางด้านทิศตะวันออกของเมืองใน มีช่องประตูเมือง 6 ช่องทางและมีโบราณสถานซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและยังไม่ได้มีการขุดแต่งและบูรณะทั้งหมดประมาณ 54 แห่ง รวมทั้งมีสระน้ำขนาดใหญ่จนถึงเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปประมาณ 30 แห่ง มีสระขวัญเป็นสระน้ำสำคัญที่มีขนาดใหญ่และตั้งอยู่กลางเมืองและ ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งเท่าที่สามารถสำรวจได้ในปัจจุบันนั้นมีโบราณสถานที่ยังมิได้มีการขุดแต่งและบูรณะประมาณ 50 แห่งและส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเมืองโบราณศรีเทพ โดยมีโบราณสถานเขาคลังนอกที่เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดีเช่นเดียวกันกับโบราณสถานเขาคลังใน และโบราณสถานปรางค์ฤาษีที่เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมรเช่นเดียวกันกับโบราณสถานปรางค์สองพี่น้องและโบราณสถานปรางค์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญ นอกจากนั้น บริเวณนอกเมืองโบราณศรีเทพไปทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ 20 กิโลเมตร ยังมีโบราณสถานที่ถ้ำเขาถมอรัตน์เป็นภาพสลักบนผนังถ้ำ เป็นรูปพระพุทธรูป และพระโพธิ์สัตว์ ที่สร้างขึ้นตามความเชื่อของพุทธศาสนาลัทธิมหายานเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14 อันมีความเกี่ยวพันที่ใกล้ชิดกับคติความเชื่อของผู้คนในเมืองโบราณศรีเทพในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวและการศึกษาภายในอุทยานประวัติศาสตร์ เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจสามารถเดินทางเข้าชมเข้าศึกษาตามลำดับได้ดังนี้ (ที่มา: กรมศิลปากร) การเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เขาจะมีรถรางพาเราเข้าไปใจกลางเมืองศรีเทพ แล้วปล่อยให้เราเข้าชมตามอัธยาศัย โดยเริ่มจากหลุมขุดค้นเป็นต้นไป และเราจะกลับมาขึ้นรถกลับออกไปที่ลานจอดรถได้จากจุดเดียวกันนี้. อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี หลุมขุดค้น อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เป็นอาคารจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูก ช้าง ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยโครงกระดูกมนุษย์และสิ่งของเครื่องใช้ที่พบร่วมกันนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในระยะแรกเริ่มสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภายในเมืองโบราณศรีเทพที่มีมากว่า 2,000 ปี ก่อนที่จะมีการพัฒนาขึ้นมาเป็นสังคมเมืองโดยการรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรตามลำดับ ส่วนโครงกระดูกช้างนั้นนับเป็นหลักฐานสำคัญประการหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการใช้สอยโบราณสถานเนื่องใน วัฒนธรรมทวารวดีสืบเนื่องมาถึงวัฒนธรรมเขมรในทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากมีการพบอยู่ในระดับเดียวกันกับฐานโบราณสถานชั้นล่างสุด (ที่มา: กรมศิลปากร) โครงกระดูมนุษย์สูง 180 ซม. ปรางค์สองพี่น้อง ปรางค์สองพี่น้อง เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมร มีลักษณะเป็นปราสาทที่ก่อด้วยอิฐสององค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทั้งสององค์ส่วนยอดพังทลายไปจนหมดสิ้นแล้ว แต่องค์เล็กยังหลงเหลือทับหลังศิลาทรายที่มีสภาพสมบูรณ์ประดับอยู่จำหลักเป็นรูปอุมามเหศวร (พระอิศวรอุ้มนาง ปารพตี (อุมา) ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราชหรือนนทิ) จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบทำให้อนุมานได้ว่าปรางค์สองพี่น้องนี้คงสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยเนื่องในศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ลัทธิไศวนิกายในราวพุทธศตวรรษที่ 17 แล้วต่อมาจึงได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1760) ทั้งนี้ บริเวณทางเดินรูปกากบาทด้านหน้าปรางค์สองพี่น้องที่ต่อเชื่อมกับทางเดินโบราณนั้นได้มีการค้นพบเทวรูปพระอาทิตย์หรือสุริยเทพผู้เป็นเทพแห่งแสงสว่างและความอบอุ่น สลักจากศิลาทรายที่มีกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเมื่อนับรวมกับที่เคยพบมาก่อนแล้วอีก 5 องค์ ทำให้มีการพบทั้งหมดถึง 6 องค์ ซึ่งทั้งหมดมีกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 (ปัจจุบันจัดแสดงและเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 องค์ จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน สหรัฐอเมริกา จำนวน 1 องค์ จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี จำนวน 1 องค์ และเก็บรักษาไว้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จำนวน 1 องค์) ซึ่งนับเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในศาสนาฮินดูที่เคารพนับถือในพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ อันจะมีพิธีกรรมบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับประเพณีมหาสงกรานต์ที่มีการพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยปัจจุบัน (ที่มา: กรมศิลปากร) ปรางค์องค์เล็กทางขวามือพร้อมทับหลังบนประตู ทับหลังที่ปรางค์สองพี่น้ององค์เล็ก เขาคลังใน เป็นศาสนสถานสำคัญประจำเมืองที่มีขนาดใหญ่เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี ที่สร้างขึ้นพร้อมกับสมัยแรกสร้างเมืองในราวพุทธศตวรรษที่ 12 เพื่อเป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิหินยานหรือเถรวาท แล้วต่อมาจึงได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ 14 และคงใช้สอยตลอดมา จนกระทั่งเมืองถูกทิ้งร้างไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีลักษณะก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก บริเวณฐานด้านทิศใต้และตะวันตกยังหลงเหลือประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระที่มีศีรษะเป็นบุคคลหรือสัตว์ต่างๆ สลับกับรูปสัตว์ในท่าแบกประกอบลายพันธ์พฤกษา ซึ่งพบและหลงเหลือประดับอยู่ที่ฐานโบราณสถานเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยปัจจุบัน (ที่มา: กรมศิลปากร) รูปปั้นต่างๆที่ฐานเขาคลังในได้สร้างหลังคาป้องกันแดดและฝนไว้ รูปปั้นที่เป็นแบบไอศครีมศรีเทพ รูปปั้นสิงห์โตที่ฐาน มีคำถามว่าในเมื่อพื้นที่ในบริเวณที่เป็นเมืองศรีเทพในเวลานั้น ไม่มีสัตว์จำพวกสิงห์โตอยู่เลย แล้วช่างปั้นไปเอาแบบสิงห์โตนี้มาจากไหน? ซึ่งข้อสันนิษฐานคำตอบอาจจะเป็นไปได้ว่า เวลานั้นเมืองศรีเทพได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติแล้วและช่างปั้นที่มาปั้นสิงห์โตนี้อาจจะเคยอยู่ในที่มีสิงห์โตหรือเห็นสิห์โตมาก่อน เลยจำมาปั้นได้ที่เมืองศรีเทพนี้. ล้อธรรมจักรศรีเทพอายุ 1,400 - 1.100 ปี ข้อมูลล้อธรรมจักร ถ่ายกับ วัตถุโบราณที่ขุดค้นได้บริเวณปรางค์ศรีเทพ ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์ศรีเทพ เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมรมีลักษณะเป็นปราสาทที่ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางด้านตะวันตกในแนวแกนเดียวกับปรางค์สองพี่น้อง จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบโดยเฉพาะทับหลังทำให้อนุมานได้ว่าคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยเนื่องในศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ลัทธิไศวนิกายในราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ต่อมาคงมีการพยายามซ่อมแซมดัดแปลงแต่ยังไม่แล้วเสร็จเพื่อใช้เป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1760) เช่นเดียวกันกับปรางค์สองพี่น้อง เนื่องจากมีการพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมที่เป็นเพียงโกลนอยู่เป็นจำนวนมาก สระปรางค์ เป็นสระที่ใหญ่ที่สุดในจำนวน 70 สระในเมืองในอุทยานศรีเทพ วัตถุโบราณที่ขุดค้นได้และนำมาวางไว้ใกล้อาคารข้อมูล ศูนย์บริการข้อมูล เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองโบราณศรีเทพ รวมทั้งการอนุรักษ์ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ภายในประกอบด้วยห้องประชุม หรือบรรยายสรุปก่อนการเข้าชมนิทรรศการเป็นหมู่คณะ ห้องนิทรรศการถาวรด้วยสื่อทันสมัย ห้องสร้างเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก ส่วนจำหน่ายหนังสือ เครื่องดื่มและของที่ระลึก และอาคารปฏิบัติการทางโบราณคดีที่ใช้จัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และบริเวณใกล้เคียง โบราณวัตถุที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ไอศครีมศรีเทพ ซื้อได้ใกล้กับจุดจำหน่ายบัตรเข้าอุทยาฯ รุ่งเรือง สู่เมืองร้าง .. ทราบว่า “ศรีเทพ” เจริญรุ่งเรืองถึง 700-800 ปี แล้วเพราะอะไร ถึงร้างได้ นักโบราณคดีชื่อดัง อธิบายว่า ทุกเมืองที่ร้างไป ย่อมมีสาเหตุ บางเมืองถูกพัฒนาจนถึงสูงสุด จนไม่สามารถพัฒนาได้แล้ว ก็เป็นได้ เช่น มีคนมากเกินไป หรือ...การต้องเผชิญหน้ากับโรคระบาด และเมื่อมีคนเจ็บตายมาก ก็อาจต้องย้ายเมือง หรือ...อาจเกิดศึกสงคราม และการกวาดต้อนผู้คน แต่โดยปกติแล้ว เวลาเกิดสงคราม ก็มักจะทำลายเมืองไปด้วย เพื่อไม่ให้คนกลับมาอยู่ แต่กับศรีเทพ มีความเจริญเป็นอย่างมาก ทั้งที่อยู่ในสมัยทวารวดี แต่พอพุทธศตวรรษที่ 16-18 ก็เริ่มมีศิลปะแบบเขมรเข้ามา จากนั้นหลังพุทธศตวรรษ ที่ 18 อาณาจักรฝั่งเขมรเสื่อมอำนาจลง ทำให้ปกครองอาณาจักรต่างๆ ที่เคยอยู่ในอาณัติไม่ได้ ดังนั้น จึงมีการตั้งตัวเองเป็นใหญ่ และวิธีการสร้างบ้านแปงเมือง คือ การ “กวาดต้อน” ผู้คน และจากข้อสังเกต คือ ช่วงเวลานั้น เมืองสุโขทัย หรืออยุธยา ที่กำลังเริ่มใหญ่ อาจจะกวาดต้อนผู้คนจากศรีเทพ เข้ามารวมก็เป็นได้ จึงทำให้เมืองเก่าที่เคยอยู่บริเวณนั้น ร้างลาผู้คน นี่คือข้อสันนิษฐานที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะจากการศึกษา เรื่อง พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลังสวรรคต เมืองก็ถูกทิ้งร้างเช่นเดียวกัน (ที่มา: https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2726815) เขาคลังใน |