อัพบล๊อกวันนี้พาไปเที่ยวปายต่อ ซึ่งเป็นตอนที่ 2 หรือตอนสุดท้ายในเรื่องของการเดินทางไปพักผ่อนที่ปายในครั้งที่ 4 ของเรา คือไปตั้งแต่ตลาด อ.ปายยังเล็กๆ มีร้านก๋วยเตี๋ยวไม่กี่ร้าน จนวันนี้ปายกลายเป็นจุดหมายปลายทางของหนุ่มสาวและนักท่องเที่ยวมากมายจากหลายๆประเทศ ที่พักจากโฮมสเตย์กลายมาเป็นโรงแรมหรือรีสอร์ทราคากว่าเลข 5 หลักเข้าไปแล้ว..
ย้อนรอยถึงบล๊อกก่อนหน้านี้ที่เราพาคุณๆไปชมบรรยากาศที่จุดชมวิวทะเลหมอกหยุนไหล และตามมาเดินเที่ยวที่หมู่บ้านสันติชล ซึ่งมาจบบล๊อกเอาตรงนั้น วันนี้จะพาไปต่อครับ อาจจะซ้ำกับที่เราเคยไปบ้าง แต่จะเก็บเอาบรรยากาศที่แปลกไปมาให้ชมกันครับ
วัดน้ำฮู
วัดน้ำฮู เป็นวัดเก่าแก่เมืองปายมานาน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2468 ด้วยน้ำพักน้ำแรง และจิตศรัทธาของชาวอำเภอปายที่ต้องการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปที่ค้นพบใต้ต้นไม้ ต่อมาได้ร่วมกันตั้งชื่อให้ว่าหลวงพ่ออุ่นเมือง หลวงพ่ออุ่นเมือง มีความมหัศจรรย์ที่รู้จักกันดีคือ บริเวณพระโมลีเมื่อเปิดออกได้ ภายในมีน้ำไหลซึมอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์และนิยมนำไปบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล
".. ประวัติศาสตร์ของ วัดน้ำฮู นี้มีความเป็นมาที่ยาวนานมาควบคู่กับเมืองปาย หรือเมืองป้าย จากตำนานที่มีผู้บันทึกเป็นหนังสือพื้นเมือง และพิจารณาจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของอำเภอปาย สันนิษฐานว่าคงจะตั้งบ้านเมืองมาประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นมีการปกครองลักษณะเจ้าผู้ครองนคร
เมื่อประเทศไทยได้ประกาศแบ่งเขตการปกครองในปี พ.ศ. 2443 ได้ประกาศให้เมืองปาย ขุนยวม เมืองฮ่องสอน ไปขึ้นกับมณฑลพายัพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ทางการได้แต่งตั้งให้หลวงเจริญ เขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมินทร์) มาเป็นนายอำเภอปายคนแรก
จากหลักฐานที่ปรากฏเป็นโบราณวัตถุต่าง ๆ ตามวัดร้าง กำแพงวัด ซากเจดีย์ปรักหักพัง พระพุทธรูปที่ก่อด้วยอิฐถือปูน ก้อนอิฐเก่าแผ่นใหญ่และหนามาก สันนิษฐานได้ว่าเป็นที่อยู่ของพวกลั๊วะ พวกขอม และลำธาร ลำห้วย หลายแห่งเป็นที่ที่มีช้างป่าจำนวนมาก ต่อมามีพวกไทยใหญ่พากันอพยพมาจากเมืองปั่น เมืองพาย เมืองแสนหวี เชียงของ เชียงตุง หมอกใหม่ ลางเครือ ก้างยาม พม่า และมอญ มาด้วยบ้าง เมื่อมาถึงบ้านดอน (ปัจจุบันบ้านเวียงเหนือ) จึงตกลงใจกันอยู่ที่นั่น และยกขุนส่างปายขึ้นเป็นเจ้าเมืองจากนั้นช่วยกันขุดคูรอบเวียง เพื่อป้องกันสัตว์มารบกวน มีประตูสามด้าน ทางทิศใต้เรียกว่า "ประตูดำ" เป็นประตู ที่นำศพออกไปป่าช้า แล้วสร้างวัดในบ้านดอนทางทิศตะวันออก
ในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ให้ "พะก่ากั่นนะ" มาเป็นเจ้าฟ้าเมืองปาย และมีผู้ครองเมืองปายสืบต่อมาอีกคนหนึ่งคือ ขุนส่างเนิง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2454 ตรงกับ ร.ศ.129 "เมืองปาย" ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอจนถึงปัจจุบัน ปี 2548 รวมเป็นเวลาประมาณ 94 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอปาย รวม 29 คน
พระพ่ออุ่นเมืองที่อยู่คู่มากับวัดน้ำฮูที่ทุกคนสักการะนับถือเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม ปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 24นิ้ว สูง 30นิ้ว ส่วนพระเศียรกลวงมีพระเมาฬีครอบ ไม่มีประวัติบันทึกการสร้างอย่างชัดเจนสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับสถูปเจดีย์ซึ่งอยู่หลังวิหาร ได้รกร้างอยู่เป็นเวลานาน ในปี พ.ศ. 2468..."
Cr: คนชอบเที่ยว
วัดน้ำฮู เป็นวัดเก่าแก่เมืองปายมานาน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2468 ด้วยน้ำพักน้ำแรง และจิตศรัทธาของชาวอำเภอปายที่ต้องการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปที่ค้นพบใต้ต้นไม้ ต่อมาได้ร่วมกันตั้งชื่อให้ว่าหลวงพ่ออุ่นเมือง หลวงพ่ออุ่นเมือง มีความมหัศจรรย์ที่รู้จักกันดีคือ บริเวณพระโมลีเมื่อเปิดออกได้ ภายในมีน้ำไหลซึมอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์และนิยมนำไปบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล
".. ประวัติศาสตร์ของ วัดน้ำฮู นี้มีความเป็นมาที่ยาวนานมาควบคู่กับเมืองปาย หรือเมืองป้าย จากตำนานที่มีผู้บันทึกเป็นหนังสือพื้นเมือง และพิจารณาจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของอำเภอปาย สันนิษฐานว่าคงจะตั้งบ้านเมืองมาประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นมีการปกครองลักษณะเจ้าผู้ครองนคร
เมื่อประเทศไทยได้ประกาศแบ่งเขตการปกครองในปี พ.ศ. 2443 ได้ประกาศให้เมืองปาย ขุนยวม เมืองฮ่องสอน ไปขึ้นกับมณฑลพายัพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ทางการได้แต่งตั้งให้หลวงเจริญ เขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมินทร์) มาเป็นนายอำเภอปายคนแรก
จากหลักฐานที่ปรากฏเป็นโบราณวัตถุต่าง ๆ ตามวัดร้าง กำแพงวัด ซากเจดีย์ปรักหักพัง พระพุทธรูปที่ก่อด้วยอิฐถือปูน ก้อนอิฐเก่าแผ่นใหญ่และหนามาก สันนิษฐานได้ว่าเป็นที่อยู่ของพวกลั๊วะ พวกขอม และลำธาร ลำห้วย หลายแห่งเป็นที่ที่มีช้างป่าจำนวนมาก ต่อมามีพวกไทยใหญ่พากันอพยพมาจากเมืองปั่น เมืองพาย เมืองแสนหวี เชียงของ เชียงตุง หมอกใหม่ ลางเครือ ก้างยาม พม่า และมอญ มาด้วยบ้าง เมื่อมาถึงบ้านดอน (ปัจจุบันบ้านเวียงเหนือ) จึงตกลงใจกันอยู่ที่นั่น และยกขุนส่างปายขึ้นเป็นเจ้าเมืองจากนั้นช่วยกันขุดคูรอบเวียง เพื่อป้องกันสัตว์มารบกวน มีประตูสามด้าน ทางทิศใต้เรียกว่า "ประตูดำ" เป็นประตู ที่นำศพออกไปป่าช้า แล้วสร้างวัดในบ้านดอนทางทิศตะวันออก
ในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ให้ "พะก่ากั่นนะ" มาเป็นเจ้าฟ้าเมืองปาย และมีผู้ครองเมืองปายสืบต่อมาอีกคนหนึ่งคือ ขุนส่างเนิง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2454 ตรงกับ ร.ศ.129 "เมืองปาย" ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอจนถึงปัจจุบัน ปี 2548 รวมเป็นเวลาประมาณ 94 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอปาย รวม 29 คน
พระพ่ออุ่นเมืองที่อยู่คู่มากับวัดน้ำฮูที่ทุกคนสักการะนับถือเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม ปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 24นิ้ว สูง 30นิ้ว ส่วนพระเศียรกลวงมีพระเมาฬีครอบ ไม่มีประวัติบันทึกการสร้างอย่างชัดเจนสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับสถูปเจดีย์ซึ่งอยู่หลังวิหาร ได้รกร้างอยู่เป็นเวลานาน ในปี พ.ศ. 2468..."
Cr: คนชอบเที่ยว
ณ วันนี้ วัดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นหลายอย่าง เข้าไปเห็นจนเกือบจำไม่ได้ว่านี่คือวัดน้ำฮูหรือวัดหลวงพ่ออุ่นเมืองที่เก่า ด้านข้างมีร้านค้าขึ้นตลอดแนว แต่ยังรักษาความโดดเด่นของวิหารหลวงพ่ออุ่นเมือง ที่มีด้านหลังเป็นเจดีย์พระพี่นางสุพรรณกัลยาที่เชื่อว่าด้านในพระเจดีย์มีเส้นผมของพระองค์บรรจุไว้ด้วย
ด้านหน้าสุดที่ศาลากลางน้ำได้ปรับสภาพให้ดูดีและสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งศาลานี้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ พระวีรกษัตริย์ไทย และสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยและทรงเสียสละเพื่อชาติไทย
ศาลากลางน้ำ
...........................................
ร้านอาหาร มาริปาย รีสอร์ท
เห็นร้านอาหารริมถนนใหญ่ ดูดี ทรงสวยเลยแวะเข้าไปสั่งอาหารมาทาน เห็นเมนูและผู้คนเข้าออกแล้ว เริ่มจะงงตัวเองนิดๆว่า "เฮ้ยเราเข้ามาผิดที่ไหม? ไง๋มีแต่ภาษาจีนเต็มไปหมด ...." แต่สรุปแล้วเราก็ได้ทานล่ะน๊าาา
หลายอย่างในปายสร้างขึ้นเพื่อเอาใจทัวร์ต่างชาติ จนอะไรหลายๆอย่างจะเป็นเหมือนเราเที่ยวในต่างประเทศแล้ว ยังดีที่มีร้านอาหาร รีสอร์ทบางแห่งยังรักษาเอกลักษณ์ที่เป็นไทยเอาไว้ได้
หลังจากอาหารกลางวันเราก็ทำเวลาต่อไปโดยจะไปเดินกองแลนภายใต้แสงอาทิตย์ที่ร้อนระอุ (แม้จะเป็นช่วงหน้าหนาว) ในปลายเดือนธันวาคม ซึ่งต้องขับออกไปจากปายตามทางหลวงเส้นหลัก 1095 ที่ไปแม่มาลัย หรือห้วยน้ำดัง ถึงป้อมตำรวจที่ทำเป็นตึกหลังใหญ่ เราก็เลี้ยวขวาเข้าไปจอดซึ่งที่จอดรถก็อยู่ติดถนนนั่นเองครับ
กองแลน
กองแลน
สถานที่ท่องเที่ยวของ อ.ปาย มีอีกชื่อหนึ่งว่า ปายแคนย่อน (มาจากลักษณะของภูมิประเทศที่คล้ายแกรนด์แคนยอน แต่อยู่ที่ อ.ปายเลยเป็นปายแคนย่อน) แต่หากกล่าวถึงความหมายของชื่อ กองแลนแล้วนั้น มาจากภาษาพื้นเมือง กอง หมายถึง ถนน เส้นทางที่ใช้สัญจร ส่วนแลน หมายถึง ตัวตะกวด (ตัวเงินตัวทอง) พอมารวมกันเป็น กองแลน หมายถึง เส้นทางสัญจรของตะกวด (ที่แคบและเล็ก)
สถานที่ท่องเที่ยวของ อ.ปาย มีอีกชื่อหนึ่งว่า ปายแคนย่อน (มาจากลักษณะของภูมิประเทศที่คล้ายแกรนด์แคนยอน แต่อยู่ที่ อ.ปายเลยเป็นปายแคนย่อน) แต่หากกล่าวถึงความหมายของชื่อ กองแลนแล้วนั้น มาจากภาษาพื้นเมือง กอง หมายถึง ถนน เส้นทางที่ใช้สัญจร ส่วนแลน หมายถึง ตัวตะกวด (ตัวเงินตัวทอง) พอมารวมกันเป็น กองแลน หมายถึง เส้นทางสัญจรของตะกวด (ที่แคบและเล็ก)
ตอนที่เรายังไม่เข้าไปเห็นนึกว่าเป็นแคนย่อนแบบเล็กๆธรรมดาๆ แต่พอไปเห็นของจริงต้องบอกเลยว่า "มันก็คือแคนย่อนจริงๆเลยล่ะ" ความลึกมากว่าต้นสนต้นหนึ่งเลยทีเดียง บนพื้นที่กองแลนเราสามมารถเดินสำหรวจเป็นวงกลมได้ โดยมีส่วนที่หน้าหวาดเสียวที่สุดก็คือสันดินที่เดินข้าม (ตรงที่ยืนถ่ายภาพ) นั่นแหละครับ ที่เราว่าหวาดเสียวคือความแข็งแรงของดินครับ
นอกจานี้ยังมีหอคอยอีกหนึ่งแห่ง แต่วันที่เราไปเขาไม่ให้ขึ้นไป
นอกจานี้ยังมีหอคอยอีกหนึ่งแห่ง แต่วันที่เราไปเขาไม่ให้ขึ้นไป
.....................................
สะพานประวัติศาสตร์ ปาย
ประมาณ 16.30 น.เราก็มาถึงสะพานประวัติศาสตร์ปาย (ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกองแลนมากนัก เพียงขับเลยออกไปทางเชียงใหม่หรือห้วยน้ำดังนิดเดียวครับ เราไปถึงแสงยังจ้า อากาศนี้ยังร้อนมากๆอยู่เลย ... แว๊บไปที่ร้านกาแฟซึ่งอยู่ฝั่งขวามมือ (ทางเดียวกับรูปไปรษณีย์) เพื่อนั่งซดกาแฟร้อนรอให้แดดร่มลมตกหน่อย ค่อยออกไปเดินเก็บภาพที่สะพาน ซึ่งตามปกติแสงที่น่าถ่ายภาพยามเย็นน่าจะอยู่ที่ประมาณ 17 - 17.45 น.
หมดกาแฟและน้ำเปล่าไปอีกขวด เลยตัดสินใจออกไปเดินเลย ซึ่งนักท่องเที่ยวก็เกือบเต็มพื้นที่แล้ว .... เอาเป็นอันว่าเรามาทุกครั้งก็ต้องแวะที่นี่ ไม่แวะถือว่ามาไม่ถึงปายนะครับ
สะพานประวัติศาสตร์ (สงครามโลกครั้งที่2) ท่าปาย
สะพาน ประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่ญี่ปุ่นมีเรืองอำนาจอยู่ในประเทศไทย โดยมีวัตถประสงค์เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงกำลังพล และอาวุธสู่พม่าเช่นเดียวกัน กับสะพานข้ามแม่น้ำแคว ในอดีตสะพานนี้เคยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินทางของประชาชนทั่วไป จนกระทั่งปัจจุบันก็มีการสร้างสะพานคอนกรีตมาตรฐานแทนที่ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดสำคัญของเมืองปายไปแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเดินบนสะพานได้ และถ่ายรูปได้ มีนืทรรศน์การเกี่วกับประวัติความเป็นมาของสะพาน และเมืองปาย ต้ั้งอยู่หน้าสะพานอีกด้วย
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะเดินทางมาถ่ายรูป และเดินเท้าข้ามสะพานแห่งนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกในการมาเยือน อ.ปาย ในปัจจุบัน สะพานแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ ความเป็นมาของเมืองปาย และสะพานไป เป็นจุดถ่ายรูปยามเย็นที่สวยงามากๆ
สะพาน ประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่ญี่ปุ่นมีเรืองอำนาจอยู่ในประเทศไทย โดยมีวัตถประสงค์เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงกำลังพล และอาวุธสู่พม่าเช่นเดียวกัน กับสะพานข้ามแม่น้ำแคว ในอดีตสะพานนี้เคยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินทางของประชาชนทั่วไป จนกระทั่งปัจจุบันก็มีการสร้างสะพานคอนกรีตมาตรฐานแทนที่ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดสำคัญของเมืองปายไปแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเดินบนสะพานได้ และถ่ายรูปได้ มีนืทรรศน์การเกี่วกับประวัติความเป็นมาของสะพาน และเมืองปาย ต้ั้งอยู่หน้าสะพานอีกด้วย
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะเดินทางมาถ่ายรูป และเดินเท้าข้ามสะพานแห่งนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกในการมาเยือน อ.ปาย ในปัจจุบัน สะพานแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ ความเป็นมาของเมืองปาย และสะพานไป เป็นจุดถ่ายรูปยามเย็นที่สวยงามากๆ
บุรุษไปรษณีย์...ยังคงอยู่
..........................................
Love strawberry Pai
ออกจากสะพานประวัติศาสตร์ เราขับย้อนเข้ามาทางในเมือง เพื่อจะไปชมพระอาทิตย์ตกดินที่วัดแม่เย็น .... แต่เมื่ออกจากสะพานมาพอเลยกองแลนหน่อยเดียว ก็ต้องผ่านร้าน Love strawberry Pai ซึ่งเป็นขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกะสตรอเบอรรี่ มีทั้งสวนสตรอเบอรี่จริงที่กำลังออกผลผลิตให้เราได้ชม และมุมถ่ายภาพสวยๆไว้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวครับ อยู่ข้างถนนใหญ่ด้านขวามือขาเข้าปายครับ
มุมถ่ายภาพ
ใช้ร่มประดับที่ลานร้านอาหาร
หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธโลกุตระมหามุนี ...ที่วัดพระธาตุแม่เย็น
เราขับเข้าในเมืองปายในช่วงก่อนค่ำ ซึ่งถนนตรงใจกลางเมืองกำลังสาละวนกับการนำสินค้ามาวางขายบนถนนคนเดินซึ่งจะมีขึ้นในค่ำคืน เราผ่านเลยตรงนั้นข้ามสะพานแม่น้ำปาย เข้าสู่หมู่บ้านแม่เย็นทางตะวันออก ซึ่งไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก จากนั้นจะเห็นป้ายวัด เราเข้าไปเลือกที่จอดด้านข้างของวัด (ด้านบนบริเวณวัดก็จอดได้ แต่กำลังปรับพื้นที่จอด) .... จากนั้นก็เดินตามบันไดที่ทอดยาวสูงขึ้นสู่ยอดเขา เพื่อไปไหว้ "“พระพุทธโลกุตระมหามุนี” สีขาวที่สร้างเกือบเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นก็นั่งรอเวลาให้พระอาทิตย์ตกผ่านเหลี่ยมเขา .... แต่การไปชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตก นั้นต้องพกโชคไปด้วย เผอิญวันนั้นเราแม้จะมีโชคได้เห็นแสงสีทองบ้างก็ตาม แต่พระอาทิตย์ขี้อายไปหน่อย หลบอยู่ในเมฆแล้วเลื่อนหายไปโดยไม่ยอมให้เรายลโฉมเลย
พระพุทธโลกุตระมหามุนี
วัดพระธาตุแม่เย็น
ตั้งอยู่บนเขาทางทิศตะวันออกหลังหมู่บ้านแม่เย็น ด้านหลังโบสถ์เป็นที่ตั้งเจดีย์เก่า สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายได้ทั่วถึงทั้งบ้านเรืองและทุ่งนา ยิ่งถ้าได้ขึ้นไปในตอนเย็นจะได้ชมพระอาทิตย์ตกโดยมีเทือกดอยจิกจ้องเป็นฉาก หลังที่งดงาม และพระธาตุแห่งนี้เป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารทางเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอ ปายแล้ว
โดยปกติ นักทอ่งเที่ยวจะขึ้นมาเยี่ยมชมที่วัดพระธาตุแม่เย็นกันในช่วงเย็น เพื่อรอชมความงามของเมืองปาย ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ทั้งเมืองจากจุดนี้ ด้วยระยะทางจากเมืองที่ไม่ไกลนัก นักท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานมาเที่ยวที่นี่ได้ไม่ยากนัก เมื่อมาถึงพระธาตุแม่เย็นเราจะต้องเดินขึ้นบันไดอีกพอสมควร แค่พอเหนื่อย แต่ไม่ต้องกังวลครับ บริเวณรอบๆพระธาตุแม่เย็นมีร้านโปสการืด ที่ขายอาหารและของว่างด้วย สามารถสั่งเพิ่มพลังก่อนกลับได้
การเดินทาง จากตัวอ.ปาย สามารถออกมาเส้นทางไปต.แม่ฮี้ ข้ามแม่น้ำปาย ตรงมาตามทางเรื่อยๆ จะเจอป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายไปพระธาตุแม่เย็นครับ
ที่ตั้ง : วัดพระธาตุแม่เย็น อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
มองเห็นตัวเมืองปายอยู่ด้านล่าง
กลับออกมาจากวัดพระธาตุแม่เย็นก็มืดแล้ว รายการต่อไปคือหามื้อเย็นที่เป็นแบบบ้านๆ อาหารพื้นเมืองทานกัน ก็ได้ที่ "ครัวสายน้ำปาย" (ร้านนี้ตั้งอยู่บนถนน 1095 แม่ฮ่องสอน – เชียงใหม่ ถ้ามาจากเชียงใหม่ ก็จะอยู่ด้านขวามือ ก่อนถึงสามแยกป้อมตำรวจปาย) เป็นเมนูที่เกี่ยวกับปลา ถ้าใครชอบทานปลามาที่นี่ไม่ผิดหวังครับ (อันนี้โฆษณาให้ฟรีๆ)
พอเราไปถึงดูเหมือนที่จอดรถจะเต็มนะวันนั้น ต้องจอดไว้ริมทางหลวงเลย ซักพักก็มีเพื่อนๆมาร่วมจอดมากมาย แสดงว่าที่นี่เขามีชื่อทีเดียว ... ลองรสชาตจานเด็ดปลาประเภทต่างๆกลั้วคอด้วยเบียร์แล้ว รสชาตนั้นยิ่งดื่มด่ำเหมาะกับการมาเมืองปายเป็นอย่างยิ่ง
กลับเข้าที่พักไอยรารีสอร์ท (แถวๆ Coffee in Love) ได้น้ำอุ่นชำระเหงื่อไคลที่ไปมาทั้งวันแล้วสะบายขึ้น...มาปายคราวนี้สนุกไปอีกแบบ ถือว่ามาเที่ยวเมืองกลางเขาละกัน
ปายที่เป็นป่าพักน่าเดินเที่ยว นั่นนับวันจะหมดไปเมื่อเทียบกับยุคแรกๆที่เคยมา .... อย่างว่าล่ะ เมื่อคนมาเยอะขึ้น อะไรๆก็เป็นธุระกิจไปหมด ที่ท่องเที่ยวแบบ Man made ก็ตามมา มันคงเป็นแบบนี้ไปอีกนาน นอกจาก...จะได้รับความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ที่จะสร้างจิตสำนึกในการเที่ยว โดยรักษาสภาพที่เป็นธรรมชาติให้คงอยู่กับเราให้นานที่สุดเท่านั้น
แสงยามเย็นที่กำลังจะหายไปจากปาย...ลากันด้วยภาพนี้ครับ